เมื่อมนุษย์สามารถต่อกระดูกชิ้นใหม่ได้ ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ
เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติ เริ่มกลายมาเป็นที่นิยมในทางการแพทย์มากขึ้น ไม่ว่าจะถูกนำไปใช้ในการผลิตแขนขาเทียม ไปจนถึงการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ ล่าสุดได้มีการนำเทคโนโลยีนี้ไปผลิตอวัยวะเทียมให้กับมนุษย์ด้วย !!
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2016 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น สร้างโครงสร้างซับซ้อนที่มีส่วนประกอบของสารไฮดรอกซีอะพาไทต์ (Hydroxyapatite) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่พบในกระดูกของมนุษย์ จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคตจะมีการผลิตกระดูกเทียมจากเครื่องพิมพ์สามมิติได้
นั่นทำให้ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งนิวเซาธ์เวลส์ ได้พัฒนาต่อยอดจากงานวิจัยเดิม โดยปรับไปใช้สารที่ไม่เป็นพิษกับเซลล์สิงมีชีวิต (แต่ยังมีส่วนประกอบของไฮดรอกซีอะพาไทต์อยู่) และทำการพิมพ์เป็นกระดูกขึ้น ซึ่งได้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างดีเลยทีเดียว โดยเฉพาะความสามารถในการเข้ากันได้กับร่างกายมนุษย์ ไม่เกิดการทำลายโดยภูมิคุ้มกัน
ที่มาของภาพ https://interestingengineering.com/researchers-could-soon-3d-print-bones-directly-into-the-human-body
แต่จุดเด่นของงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งนิวเซาธ์เวลส์ คือความสามารถในการพิมพ์กระดูกได้จากภายในร่างกาย !! จากคลิปทางด้านบนจะเห็นได้ว่า หัวพิมพ์จะทำการยิงหมึกพิมพ์ (สารประกอบของไฮดรอกซีอะพาไทต์) ลงไปในเยื่อเจลาติน (แทนเนื้อเยื่อภายในร่างกายมนุษย์) ก็จะได้เป็นโครงสรางที่มีความแข็งแรงเหมือนกระดูกของจริงเลยทีเดียว
นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่อาจพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสสำหรับผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุ จนทำให้สูญเสียกระดูกไป งานวิจัยนี้จึงเปรียบเสมือนแสงสว่างที่ช่วยมอบโอกาสให้มวลมนุษยชาติ ในอนาคตคาดว่าจะเริ่มทดสอบการพิมพ์กระดูกในสัตว์ทดลอง ก่อนที่จะขยับขยายไปทดลองในมนุษย์