สิทธิทางการแพทย์

1. การขอเปลี่ยนสิทธิรักษาพยาบาลไปใช้สิทธิ สปสช.

บัตรทองกับประกันสังคม เลือกสิทธิไหนดีกว่ากัน?  สิทธิประโยชน์ผู้พิการของบัตรทองและประกันสังคมนั้น มีข้อดี-ข้อเสียที่ต่างกัน โดยทั้ง 2 สิทธิมีข้อแตกต่างกัน 

  • สิทธิบัตรทอง ไม่มีค่าใช้จ่าย ลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการหรือสถานพยาบาลประจำแล้วใช้สิทธิได้ทันที 
  • สิทธิประกันสังคม ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนทุกเดือน ตามเงื่อนไขถึงจะสามารถใช้สิทธิได้ 
  • สิทธิบัตรทอง ใช้กับสถานพยาบาลประจำที่ลงทะเบียนไว้ กรณีเจ็บป่วยต่างพื้นที่เข้าสถานพยาบาลปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติเข้าสถานพยาบาลรัฐและเอกชนที่อยู่ใกล้ 
  • สิทธิประกันสังคม ใช้กับโรงพยาบาลที่เลือกสิทธิไว้ กรณีฉุกเฉินเข้าที่ไหนก่อนก็ได้ โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

สิทธิการรักษาต่างๆ ของ “บัตรทอง” กับ “ประกันสังคม” 

การรักษาโรคเฉพาะ จุดนี้ประกันสังคมมีข้อด้อยตรงที่ไม่ครอบคลุมการรักษาโรคเฉพาะบางโรค เช่น มะเร็งบางชนิด ต่างจากบัตรทองที่ให้การรักษาครอบคลุมทั้งหมด  

– ทันตกรรม ประกันสังคมให้สิทธิด้านทันตกรรมปีละไม่เกิน 900 บาท แต่สามารถเข้ารับบริการได้ทั้งโรงพยาบาลรัฐ เอกชน และคลินิกที่ร่วมโครงการ ส่วนบัตรทองสามารถใช้บริการได้ไม่จำกัดวงเงินและจำนวนครั้ง แต่ก็ต้องแลกด้วยการเข้ารับบริการได้เฉพาะโรงพยาบาลรัฐเท่านั้น 

– ยาและเวชภัณฑ์ ประกันสังคมสามารถใช้ยาได้ทั้งในและนอกบัญชีหลักแห่งชาติ แต่บัตรทองได้เฉพาะยาที่อยู่ในบัญชีหลักแห่งชาติเท่านั้น หากต้องการใช้ยานอกบัญชี ผู้ป่วยต้องยอมจ่ายเงินเอง หรือขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์  

– ค่าห้องและค่าอาหาร ประกันสังคมให้สิทธิค่าห้องและค่าอาหารไม่เกินวันละ 700 บาท โดยเลือกได้ว่าจะนอนห้องรวมหรือห้องพิเศษ แต่ต้องจ่ายส่วนต่างที่เกินเอง ขณะที่บัตรทองจะดูแลค่าห้องและค่าอาหารของห้องรวมให้ทั้งหมด แต่หากต้องการนอนห้องพิเศษจะต้องจ่ายเองทั้งหมด

– สิทธิประโยชน์ด้านอื่น ๆ แน่นอนว่าประกันสังคมให้สิทธิประโยชน์ด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากการรักษาพยาบาลด้วย อย่างเช่น เงินสงเคราะห์บุตร เงินช่วยเหลือยามว่างงาน เงินบำเหน็จ-บำนาญชราภาพ และเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต เป็นต้น ซึ่งบัตรทองยังไม่มีในส่วนนี้  

สามารถลงทะเบียนได้ที่ 

ประกันสังคม ให้สิทธิกับคนที่เป็นลูกจ้างที่บริษัทได้ส่งเงินสมทบกองทุนให้ โดยที่ไม่ต้องสมัครเอง (ตามมาตรา 33) หรือผู้ที่ลาออกจากงาน อยากสมัครเองก็สามารถทำได้เช่นกัน (ตามมาตรา 39) ผู้ที่ทำอาชีพอิสระ สามารถลงทะเบียนได้อายุตั้งแต่ 15-60 ปี (ตามมาตรา 40) 

บัตรทอง ให้สิทธิกับคนไทยทุกคนตั้งแต่แรกเกิด ไม่ได้เป็นข้าราชการ ไม่ใช่บุตรของข้าราชการ หรือไม่มีสวัสดิการอะไรเลย

ติดต่อขอใช้สิทธิได้ที่

โรงบาลของรัฐทุกแห่ง หรือ โรงพยาบาลเอกชนที่เลือกใช้ประกันสังคม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สายด่วน สปสช. (สิทธิบัตรทอง) สอบถามโทร 1330 

สายด่วน ประกันสังคม สอบถามโทร 1506

2. สิทธิ สปสช. (คนพิการทางสติปัญญา จิตสังคม หรือออทิสติก)

ยาสำหรับคนพิการกลุ่มสติปัญญา จิตสังคม หรือออทิสติก (สปสช.) การรักษาด้วยยา (Pharmacotherapy)

ในการรักษาด้วยยานั้นไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อรักษาให้หายขาดจากออทิสติกโดยตรงแต่นำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการบางอย่างที่เกิดร่วมด้วย เด็กไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยาทุกคนและเมื่อทานยาแล้วก็ไม่จำเป็นต้องทานต่อเนื่องไปตลอดชีวิตเช่นกันแพทย์จะพิจารณาปรับขนาดยาหรือหยุดยาเมื่ออาการเป้าหมายทุเลาลงแล้วในปัจจุบันยังไม่พบว่ามียาตัวใดที่ช่วยแก้ไขความบกพร่องด้านการสื่อสารและด้านสังคมซึ่งเป็นปัญหาหลักของเด็กออทิสติกได้ส่วนยาที่นำมาใช้พบว่ามีประโยชน์ในการลดพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งไม่มีสมาธิหุนหันพลันแล่น ก้าวร้าว และหมกมุ่น บุคคลที่เป็นออทิสติกสามารถประกอบอาชีพได้ปกติตามความถนัดของแต่ละคนถ้ามีการเตรียมความพร้อมอย่างเหมาะสม และสังคมมีความเข้าใจรวมถึงเปิดโอกาสให้

การใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ที่มีภาวะไทรอยด์ต่ำ 

การรักษาด้วยยา มีประเภทยา ดังนี้  

ชื่อยา : Levothyroxine sodium 

ชื่อการค้า : Thyrosit, Thyroxine-Lam Thong, El-Thyro, Ettroxin, Euthyrox, Patroxin, Pondtroxin  

ยาที่ใช้ในผู้ป่วยทางสติปัญญากลุ่มอาการออทิสซึม  

ชื่อยา : Haloperidol , Risperidone , Valproate , Fluoxetine , Sertraline 

ปัจจุบันยาที่เป็นทางเลือกแรกของการรักษาพฤติกรรมที่เป็นปัญหาคือยา Risperidone โดยมีรายละเอียด ของยาดังนี้ 

ชื่อทางการค้า : ยาเม็ด Risperidone GPO, Neuris   

       : ยาน้ำ Risperidal Solution, Rispel Solution 

การใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ที่มีภาวะโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 

ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหัวใจและทำให้การเต้นของหัวใจเป็นปกติ โดย ยาที่ใช้บ่อย ได้แก่ 

ชื่อยา : Digoxin 

ชื่อทางการค้า : Lanoxin, Lanoxin PG, Grexin, Toloxin  

ชื่อยา : Warfarin ชนิดกิน 

ชื่อทางการค้า : Befarin, Maforan, Orfarin, Zydarin

ใช้สิทธิอย่างไร 

คนพิการสิทธิบัตรทอง เข้ารักษาได้ที่ รพ.รัฐทุกแห่ง ไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ต้องใช้ใบส่งตัว

 เอกสารหลักฐานที่ต้องเตรียม 

– บัตร/สมุดประจำตัวคนพิการ หรือ เอกสารรับรองการตรวจประเมินความพิการจากแพทย์ 

– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  

– สำเนาทะเบียนบ้านที่คนพิการ

สามารถใช้สิทธิได้ที่ 

ต่างจังหวัด สามารถลงทะเบียนได้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในระดับตำบล (รพสต.) หรือโรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน 

กรุงเทพมหานคร สามารถลงทะเบียนได้ ณ สถานที่ที่สำนักงาหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดปัจจุบัน ได้แก่ สำนักเขตทุกเขต ในวันและเวลาราชการ 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สายด่วน สปสช.(สิทธิบัตรทอง) สอบถามโทร 1330 กด 2

3. สิทธิพื้นฐานของประกันสังคม

ครอบคลุมการรักษาพยาบาล ทุพพลภาพ คลอดบุตร เงินชดเชยรายได้ และเงินบำนาญ 📋

4. สิทธิ สปสช. (คนพิการทางร่างกาย)

เครื่องช่วยความพิการตามสิทธิ สปสช. (พิการทางกาย) คนพิการทางด้านร่างกายสามารถใช้สิทธิสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำเรื่องดำเนินการขอเบิกกายอุปกรณ์ที่ใช้กับร่างกายเพื่อช่วยเหลือการเคลื่อนไหว เช่น แขนเทียม ขาเทียม อุปกรณ์ประคองหรือดามหลัง อุปกรณ์ดามมือ และอื่นๆ อีก เช่น

  • แขนเทียม (Prosthesis, upper extremity)  
  • ขาเทียม (Prosthesis, lower extremity) 
  • รองเท้าคนพิการ 
  • สายสวนปัสสาวะแบบสวนด้วยตนเอง 
  • รถวีลแชร์แบบปรับได้ 
  • รถวีลแชร์แบบปรับไม่ได้ 
  • เบาะรองนั่งสำหรับคนพิการ 
  • รถสามล้อโยกมาตรฐานสำหรับคนพิการ 
  • แผ่นรองตัวสำหรับผู้ป่วยอัมพาตหรือที่นอนลม 

เอกสารที่ต้องเตรียม 

  • บัตรประจำตัวประชาชน 
  • บัตรประจำตัวคนพิการ 

ติดต่อสอบถามและขอใช้สิทธิ

สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์  

ที่อยู่ : 88/26 หมู่ 4 ซอย ติวานนท์ 14 ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ : 02 591 4242 

โรงบาลของรัฐทุกแห่ง หรือ โรงพยาบาลเอกชนที่เลือกใช้ประกันสังคม 

สายด่วน สปสช. (สิทธิบัตรทอง) โทร 1330

5. สิทธิการตรวจสุขภาพประจำปี

การตรวจสุขภาพตามสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเฉพาะสำหรับคนพิการ สิทธิการได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งในและนอกหน่วยบริการได้แก่ กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัดการประเมิน/แก้ไขการพูด จิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด การฟื้นฟูการได้ยิน การฟื้นฟูการเห็น การกระตุ้นพัฒนาการการได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยตามประเภทความพิการการพัฒนาศักยภาพในรูปแบบอื่นๆ เช่น การเข้ารับบริการการฝึกการใช้ไม้เท้าขาวเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการเห็นเป็นต้น  

ใช้สิทธิอย่างไร

  1. ตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาลได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือ ผ่านช่องทางออนไลน์
  2. ติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อตรวจร่างกายและรับสิทธิ

ติดต่อสอบถามที่ 

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  

ศูนย์บริการคนพิการประจำจังหวัดทั่วประเทศ 

กรมบัญชีกลาง ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 

Call Center 0-2270-6400 

6. สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

สปสช.ซึ่งดำเนินงาน “ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” หรือ “บัตรทอง” ได้พัฒนาการบริการและสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อดูแลคนพิการให้เข้าถึงบริการได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง นอกจากการเข้าถึงการรักษาพยาบาลและบริการสาธารณสุขที่เป็นสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานแล้ว ยังได้รับการดูแลภายใต้สิทธิประโยชน์บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้แก่ กายภาพบำบัด การประเมินและแก้ไขการพูด การฟื้นฟูการได้ยิน การฟื้นฟูการเห็น และการกระตุ้นพัฒนาการ เป็นต้น พร้อมกันนี้ยังได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ อาทิ เครื่องช่วยฟัง ไม้เท้าขาว อวัยวะเทียม เช่น แขนเทียม ขาเทียม เป็นต้น นอกจากนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการในการใช้สิทธิบัตรทอง ยังกำหนดให้ผู้พิการสามารถเข้ารับบริการรักษาพยาบาลได้ที่โรงพยาบาลรัฐทุกแห่ง โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและไม่ต้องใช้ใบส่งตัว

คนพิการสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับคนพิการ หรือ บัตรทองคนพิการ ท.74 ซึ่งประเภทความพิการที่ได้รับสิทธิหลักประกันสุขภาพฯสำหรับคนพิการมีดังนี้

(1) ความพิการทางการเห็น  

(2) ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย  

(3) ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย  

(4) ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม  

(5) ความพิการทางสติปัญญา  

(6) ความพิการทางการเรียนรู้  

(7) ออทิสติก

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ : บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ทั้งนี้รวมไปถึงบริการการแพทย์แผนไทย

วิธีการใช้สิทธิ : ยื่นบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวคนพิการ ติดต่อที่หน่วยบริการตามสิทธิของตนเอง ยกเว้น หากมีความจำเป็นสามารถเข้ารับบริการกับหน่วยบริการของรัฐได้ทุกแห่ง 

สามารถใช้สิทธิ สปสช. ที่ไหนได้บ้าง 

กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพระดับจังหวัดที่ สปสช. และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ร่วมจัดตั้ง 58 แห่ง มีดังนี้  

เขต 1 เชียงใหม่ จำนวน 8 กองทุน ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, น่าน, พะเยา, ลำพูน, ลำปาง, แพร่, แม่ฮ่องสอน 

เขต 2 พิษณุโลก จำนวน 5 กองทุน ได้แก่ พิษณุโลก, สุโขทัย, ตาก, อุตรดิตถ์, เพชรบูรณ์ 

เขต 3 นครสวรรค์ จำนวน 5 กองทุน ได้แก่ นครสวรรค์, ชัยนาท, พิจิตร, อุทัยธานี, กำแพงเพชร 

เขต 4 สระบุรี จำนวน 7 กองทุน ได้แก่ สระบุรี, อยุธยา, สิงห์บุรี, อ่างทอง, นนทบุรี, ปทุมธานี, นครนายก 

เขต 5 ราชบุรี จำนวน 1 กองทุน ได้แก่ ราชบุรี 

เขต 6 ระยอง จำนวน 8 กองทุน ได้แก่ ชลบุรี, จันทบุรี, ตราด, ระยอง, สมุทรปราการ, สระแก้ว, ปราจีนบุรี, ฉะเชิงเทรา 

เขต 7 ขอนแก่น จำนวน 3 กองทุน ได้แก่ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม 

เขต 8 อุดรธานี จำนวน 3 กองทุน ได้แก่ บึงกาฬ, หนองบัวลำภู, สกลนคร 

เขต 9 นครราชสีมา จำนวน 4 กองทุน ได้แก่ นครราชสีมา, ชัยภูมิ, บุรีรัมย์, สุรินทร์ 

เขต 10 อุบลราชธานี จำนวน 3 กองทุน ได้แก่ อุบลราชธานี, ยโสธร, อำนาจเจริญ 

เขต 11 สุราษฎร์ธานี จำนวน 4 กองทุน ได้แก่ สุราษฎร์ธานี, กระบี่, พังงา, ภูเก็ต 

เขต 12 สงขลา จำนวน 7 กองทุน ได้แก่ สงขลา, พัทลุง, สตูล, ปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส, ตรัง 

เอกสารหลักฐานที่ต้องเตรียม 

– บัตร/สมุดประจำตัวคนพิการ หรือ เอกสารรับรองการตรวจประเมินความพิการจากแพทย์ 

– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  

– สำเนาทะเบียนบ้านที่คนพิการ 

สามารถขอใช้สิทธิได้ที่ 

ต่างจังหวัด สามารถลงทะเบียนได้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในระดับตำบล (รพสต.) หรือโรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน 

กรุงเทพมหานคร สามารถลงทะเบียนได้ ณ สถานที่ที่สำนักงาหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดปัจจุบัน ได้แก่ สำนักเขตทุกเขตในวันและเวลาราชการ

ติดต่อสอบถาม สายด่วน สปสช.(สิทธิบัตรทอง) สอบถามโทร 1330 กด 2

7. สิทธิประกันสังคม (คนพิการอัมพาตหรือติดเตียง)

ยาและเวชภัณฑ์สำหรับคนพิการอัมพาตหรือติดเตียง (ประกันสังคม) ยาและเวชภัณฑ์จากสิทธิประกันสังคมสามารถใช้ยาได้ทั้งในและนอกบัญชีหลักแห่งชาติ เช่น

ใช้รักษาอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่   

ชื่อยา : Spasium (สปาเซียม) 

Spasmex 30 (สแปสเมกซ์ 30) 

Spasmo-Lyt 20 mg (สแปสโม-ไลท์ 20 มิลลิกรัม)  

Urivesc (ยูริเวส) 

ชื่อทางการค้า : Trospium chloride

ยาลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะที่ช่วยคลายกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ 

ชื่อยา : Oxybutynin chloride  

ชื่อทางการค้า : Diutropan  

ยาที่ใช้ในการรักษาอาการปวดเรื้อรังจากระบบประสาทผิดปกติที่ไม่ทราบสาเหตุ 

ชื่อยา : Gabapentin (กาบาเพนติน)  

        Pregabalin (พรีกาบาลิน) 

        Amitriptyline (อะมิทริปไทลิน) 

ชื่อทางการค้า : Gabapentin

สถานที่ใช้สิทธิ

โรงพยาบาลที่กำหนดในสิทธิประกันสังคมของคนพิการ

8. สิทธิประกันสังคม (คนตาบอด)

เครื่องช่วยความพิการตามสิทธิประกันสังคม (พิการตาบอด) คนพิการทางสายตา คือ ผู้ที่สูญเสียการมองเห็น โดยมีทั้งคนตาบอดสนิท มองเห็นแสงสว่างได้ และมองเห็นเลือนราง คนเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยหรือทดแทนการมองเห็น ที่จะได้รับรับสิทธิ์เครื่องช่วยความพิการ (ตาบอดหรือเลือนราง) ตามสิทธิประกันสังคมต้องเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 และมาตรา 39 จะได้รับสิทธิ์เมื่อส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายใน 15 เดือนย้อนหลัง ส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนเดือนที่ขอรับการรักษาพยาบาล  

อุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ 

  • วัสดุใส่หนุนรับลูกตาเทียมชนิดมีรูพรุน ((Integrated orbital implant)  
  • วัสดุเสริมกระดูกเบ้าตา (Orbital implant for orbit)  
  • วัสดุที่ใช้หนุนในลูกตาในการผ่าตัดซ่อมจอประสาทตา (Buckle)  
  • ของเหลวสำหรับกดจอประสาทตา (Perfluorocarbon liquid) 
  • แว่นตาสำหรับมองไกล (Distance eyeglasses) 
  • แว่นตาสำหรับมองใกล้ (Near eyeglasses) (สำหรับการผ่าตัด ครั้งที่ 2 ในตาข้างเดิมให้เปลี่ยนได้เฉพาะเลนส์ ไม่เกิน 900) 
  • ซิลิโคนออยล์ (Silicone oil) 
  • ก๊าซสำหรับฉีดกดจอประสาทตา ( Intraocular gas) 
  • ชุดผ่าตัดน้ำวุ้นลูกตา (Vitrectomy set) 
  • ใบมีดตัดกระจกตา (Corneal trephine) 
  • เลนส์สัมผัส ชนิดแข็ง (Hard contact lens) 
  • เลนส์สัมผัส ชนิดครึ่งนุ่มครึ่งแข็ง (Rigid gas permeable lens) 
  • เลนส์สัมผัส ชนิดนิ่ม (Soft contact lens) 

ผู้ป่วยนอกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท  

ติดต่อสอบถาม 

สถานพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม 

ศูนย์บริการคนพิการจังหวัด ทั่วประเทศ 

9. สิทธิ สปสช. (คนหูหนวก)

เครื่องช่วยความพิการตามสิทธิ สปสช. (พิการหูหนวก) คนพิการทางการได้ยินนั้น จะได้รับการสนับสนุนการจัดบริการอุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง ที่เหมาะสมตามมาตรฐานที่กำหนด จากสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งรายการอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังจะมีดังต่อไปนี้ 

  1. เครื่องช่วยฟัง แบบกล่อง ระบบอนาล็อก 
  2. เครื่องช่วยฟัง แบบกล่อง ระบบดิจิตอล 
  3. เครื่องช่วยฟัง แบบทัดหลังใบหู ระบบดิจิตอล 
  4. เครื่องช่วยฟัง แบบใส่ในช่องหู ระบบดิจิตอล 
  5. เครื่องช่วยฟัง แบบนำเสียงผ่านกระดูกแบบหูเดียว ระบบดิจิตอล 

เกณฑ์ในการใส่เครื่องช่วยฟัง สำหรับคนพิการทางการได้ยิน

1.สูญเสียการได้ยิน 2 ข้าง และมีการได้ยินที่ยังคงหลงเหลืออยู่ (Residual Hearing ในหูข้างที่ได้ยินดีกว่าหลังสิ้นสุดการรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัด โดยต้องระบุสาเหตุความจำเป็นที่เข้าได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 

  • ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาหรือการผ่าตัด หรือมีข้อห้ามในการผ่าตัดหรือแพทย์ผู้รักษาพิจารณาแล้วว่าการผ่าตัดไม่เกิดประโยชน์หรือผู้ป่วยปฏิเสธการผ่าตัด 
  • สูญเสียการได้ยินแบบประสาทหูเสื่อม อย่างเฉียบพลันหลังการรักษาด้วยยาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 100 วัน 
  • การสูญเสียการได้ยินเป็นอุปสรรคต่อการสื่อความหมาย และการดำรงชีวิตประจำวัน หรือทำให้คุณภาพชีวิตลดลง  
  • การสูญเสียการได้ยินเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาภาษาและการพูดหรือมีความพิการซ้อน 

2.ระดับการสูญเสียการได้ยิน มีการสูญเสียการได้ยินทั้งสองข้าง โดยข้างที่ดีกว่าจะต้องมีค่าเฉลี่ยของระดับการได้ยินทางอากาศ (Air Conduction Threshold) ของความถี่ 500, 1,000 และ 2,000 เฮิรตซ์ (Hertz: Hz) เท่ากับหรือมากกว่า 40 เดซิเบล (dB) ทั้งนี้ ต้องตรวจวัดโดยใช้วิธีการตรวจการได้ยินตามมาตรฐานวิชาชีพ 

เอกสารที่ต้องใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • บัตรประจำตัวคนพิการ 

หลักฐานที่ใช้ในการเบิกค่าเครื่องช่วยฟังกับ สปสช.  

(โรงพยาบาลเก็บเพื่อใช้ประกอบเบิก) 

  • ใบสั่งยาและ/หรือใบ order แพทย์ 
  • ผลตรวจ Audiogram 
  • ผลการประเมินการใส่เครื่องช่วยฟัง 
  • รายละเอียดรุ่น ยี่ห้อ และหมายเลขเครื่องช่วยฟัง 
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ป่วย พร้อมลายเซ็นหรือพิมพ์นิ้วหัวแม่มือ

ติดต่อสอบถามได้ที่ 

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  

ศูนย์บริการคนพิการประจำจังหวัดทั่วประเทศ 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สายด่วน สปสช. (สิทธิบัตรทอง) โทร 1330

10. สิทธิ สปสช. (คนพิการอัมพาตหรือติดเตียง)

ยาและเวชภัณฑ์สำหรับคนพิการอัมพาตหรือติดเตียง (สปสช.)

• จัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับหน่วยบริการ กรณีให้บริการแบบผู้ป่วยนอก สนับสนุนงบประมาณให้หน่วยบริการเพื่อจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพให้กลุ่มเป้าหมาย

• จัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้านและในชุมชน สนับสนุนงบประมาณโดยการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่กลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่องที่บ้านและในชุมชน

• ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ได้รับการดูแลจากการสนับสนุนค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยติดเตียง : แผลกดทับ

ใช้รักษาอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่   

ชื่อยา : Spasium (สปาเซียม) 

Spasmex 30 (สแปสเมกซ์ 30) 

Spasmo-Lyt 20 mg (สแปสโม-ไลท์ 20 มิลลิกรัม)  

Urivesc (ยูริเวส) 

ชื่อทางการค้า : Trospium chloride 

ยาลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะที่ช่วยคลายกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ 

ชื่อยา : Oxybutynin chloride  

ชื่อทางการค้า : Diutropan

ยาที่ใช้ในการรักษาอาการปวดเรื้อรังจากระบบประสาทผิดปกติที่ไม่ทราบสาเหตุ 

ชื่อยา : Gabapentin (กาบาเพนติน)  

Pregabalin (พรีกาบาลิน) 

Amitriptyline (อะมิทริปไทลีน) 

ชื่อทางการค้า : Gabapentin 

11. สิทธิประกันสังคม (คนพิการทางร่างกาย)

เครื่องช่วยความพิการตามสิทธิประกันสังคม (พิการทางกาย) คนพิการสามารถขอเบิกกายอุปกรณ์ ที่ใช้กับร่างกายเพื่อช่วยเหลือการเคลื่อนไหวของตนเองจากสิทธิประกันสังคม เช่น แขนเทียม ขาเทียม อุปกรณ์ประคองหรือดามหลัง อุปกรณ์ดามมือ และอื่นๆ เป็นต้น

  • แขนเทียม (Prosthesis, upper extremity)  
  • ขาเทียม (Prosthesis, lower extremity) 
  • รองเท้าคนพิการ 
  • สายสวนปัสสาวะแบบสวนด้วยตนเอง 
  • รถวีลแชร์แบบปรับได้ 
  • รถวีลแชร์แบบปรับไม่ได้ 
  • เบาะรองนั่งสำหรับคนพิการ 
  • รถสามล้อโยกมาตรฐานสำหรับคนพิการ 
  • แผ่นรองตัวสำหรับผู้ป่วยอัมพาตหรือที่นอนลม

– ผู้ป่วยนอกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท  

– ผู้ป่วยนอกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท 

เอกสารที่ต้องใช้ 

  • บัตรประจำตัวประชาชน 
  • บัตรประจำตัวคนพิการ 

สามารถใช้สิทธิได้ที่ 

สถาบันสิรินธร เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาตกรมการแพทย์  

ที่อยู่ 88/26 ซอยติวานนท์ 14 ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 02 591 4242

โรงพยาบาลของรัฐในแต่ละพื้นที่ 

12. สิทธิครูโรงเรียนเอกชน

สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ 100,000 บาทต่อคนต่อปี มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2563 ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ค่าห้องและค่าอาหารตามที่จ่ายจริงไม่เกินวันละ 600 บาทค่ารักษาพยาบาลที่เบิกได้ เช่น ค่ายา ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าวิเคราะห์โรค หรือค่าอวัยวะเทียม 

กรณีรับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลเอกชน เบิกได้เฉพาะกรณีประสบอุบัติเหตุ อุบัติภัย หรือมีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต (ต้องเป็นผู้ป่วยในเท่านั้น) 

เอกสารที่ต้องใช้

(1) ใบรับรองแพทย์ 

(2) ใบเสร็จตัวจริง 

(3) ใบสรุปหน้างบค่ารักษาพยาบาล – ผู้ป่วยใน 

(4) ใบรายละเอียดการรับการรักษา 

(5) คำรับรองแพทย์/คำรับรองของผู้ดำเนินการสถานพยาบาล 

(6) ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล 

(7) ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ส.พ.7 

13. สิทธิ สปสช. (คนตาบอด)

เครื่องช่วยความพิการตามสิทธิ สปสช. (พิการตาบอด) คนพิการทางสายตาสามารถใช้สิทธิเบิกเครื่องช่วยความพิการตามสิทธิสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ สะดวก และมีอิสระมากยิ่งขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวันโดยอุปกรณ์ที่ผู้พิการจะสามารถเบิกได้จะมีหมวดหมู่ดังต่อไปนี้  

  • อุปกรณ์ขยายภาพช่วยการมองเห็น  
  • อุปกรณ์แว่นขยาย หรือแว่นขยายมือถือแบบพกพาที่มีแสงไฟในตัว  
  • แท่นรองอ่านหนังสือสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น 
  • กล้องส่องตาเดียว  
  • เลนส์ขยายภาพชนิดรวมแสง 

เอกสารที่ต้องใช้ 

  1. บัตรประจำตัวประชาชน
  2. บัตรประจำตัวคนพิการ 

สามารถใช้สิทธิได้ที่ 

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ศูนย์บริการคนพิการประจำจังหวัดทั่วประเทศ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สายด่วน สปสช. (สิทธิบัตรทอง) โทร 1330

14. สิทธิประกันสังคม (คนพิการทางสติปัญญา จิตสังคม หรือออทิสติก)

ยาสำหรับคนพิการกลุ่มสติปัญญา จิตสังคม หรือออทิสติก (ประกันสังคม) การรักษาด้วยยา (Pharmacotherapy) การรักษาด้วยยาไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อรักษาให้หายขาดจากออทิสติกโดยตรง แต่นำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการบางอย่างที่เกิดร่วมด้วย เด็กไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยาทุกคนและเมื่อทานยาแล้วก็ไม่จำเป็นต้องทานต่อเนื่องไปตลอดชีวิตเช่นกัน แพทย์จะพิจารณาปรับขนาดยาหรือหยุดยาเมื่ออาการเป้าหมายทุเลาลงแล้ว ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามียาตัวใดที่ช่วยแก้ไขความบกพร่องด้านการสื่อสารและด้านสังคม ซึ่งเป็นปัญหาหลักของเด็กออทิสติกได้ส่วนยาที่นำมาใช้พบว่ามีประโยชน์ในการลดพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งไม่มีสมาธิหุนหันพลันแล่น ก้าวร้าว และหมกมุ่น บุคคลออทิสติกสามารถประกอบอาชีพได้ปกติตามความถนัดของแต่ละคนถ้ามีการเตรียมความพร้อมอย่างเหมาะสม และสังคมมีความเข้าใจเปิดโอกาสให้

ยาและเวชภัณฑ์ ประกันสังคมสามารถใช้ยาได้ทั้งในและนอกบัญชีหลักแห่งชาติ

การใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ที่มีภาวะไทรอยด์ต่ำ 

การรักษาด้วยยา มีประเภทยา ดังนี้  

ชื่อยา : Levothyroxine sodium 

ชื่อการค้า : Thyrosit, Thyroxine-Lam Thong, El-Thyro, Ettroxin, Euthyrox, Patroxin, Pondtroxin 

ยาที่ใช้ในผู้ป่วยทางสติปัญญากลุ่มอาการออทิสซึม  

ชื่อยา : Haloperidol , Risperidone , Valproate , Fluoxetine , Sertraline 

ปัจจุบันยาที่เป็นทางเลือกแรกของการรักษาพฤติกรรมที่เป็นปัญหาคือยา Risperidone โดยมีรายละเอียด ของยาดังนี้ 

ชื่อทางการค้า : ยาเม็ด Risperidone GPO, Neuris  

: ยาน้ำ Risperidal Solution, Rispel Solution 

การใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ที่มีภาวะโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 

ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหัวใจและทำให้การเต้นของหัวใจเป็นปกติ โดยยาที่ใช้บ่อย ได้แก่

ชื่อยา : Digoxin 

ชื่อทางการค้า : Lanoxin, Lanoxin PG, Grexin, Toloxin 

ชื่อยา : Warfarin ชนิดกิน 

ชื่อทางการค้า : Befarin, Maforan, Orfarin, Zydarin 

คนพิการสิทธิบัตรทองเข้ารักษาได้ที่ รพ.รัฐทุกแห่ง ไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ต้องใช้ใบส่งตัว 

เอกสารหลักฐานที่ต้องเตรียม 

– บัตร/สมุดประจำตัวคนพิการ หรือ เอกสารรับรองการตรวจประเมินความพิการจากแพทย์ 

– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  

– สำเนาทะเบียนบ้านที่คนพิการ 

สามารถใช้สิทธิได้ที่ 

ต่างจังหวัด สามารถลงทะเบียนได้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในระดับตำบล (รพสต.) หรือโรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน 

กรุงเทพมหานคร สามารถลงทะเบียนได้ ณ สถานที่ที่สำนักงาหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดปัจจุบัน ได้แก่ สำนักเขตทุกเขต ในวันและเวลาราชการ 

15. สิทธิข้าราชการ

คนพิการที่เป็นข้าราชการ ได้รับสิทธิสวัสดิการตั้งแต่วันที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งเข้ารับราชการจะหมดสิทธิเมื่อเกษียณอายุราชการ ลาออก ถูกไล่ออกหรือเสียชีวิต และกรณีถูกระงับสิทธิค่ารักษาพยาบาลข้าราชการมีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการสำหรับตนเอง บิดาและมารดา คู่สมรส และบุตร กรณีบุตรนั้นให้ไม่เกิน 3 คน เรียงลำดับก่อนหลัง โดยต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย และยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือบรรลุนิติภาวะ แต่เป็นผู้ไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถที่อยู่ในอุปการะเลี้ยงดูของข้าราชการ (ไม่รวมบุตรบุญธรรมและบุตรที่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมผู้อื่น) หากบุตรคนใดตายลง ก่อนบรรลุนิติภาวะ ให้สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรคนถัดไปแทนได้ (กรณีบุตรมากกว่า 3 คน)

1. ค่ารักษาพยาบาล ได้แก่

(1) ค่ายา ค่าเลือด และส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทนค่าน้ายา หรืออาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน

(2) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม

(3) ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์โรค

(4) ค่าห้อง ค่าอาหาร

(5) ค่าตรวจสุขภาพประจำปี

2. อัตราค่ารักษาพยาบาล ได้แก่

(1) ค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ เบิกได้เต็มตามที่จ่ายจริงทั้งคนไข้ในและคนไข้นอก สำหรับในสถานพยาบาลของเอกชน เบิกได้เฉพาะกรณีที่มีอุบัติเหตุ อุบัติภัย หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต โดยให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 8,000 บาท (แปดพันบาทถ้วน) หากเป็นการเข้ารับการรักษาพยาบาลก่อนวันที่ 1 มกราคม 2557 ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของ จำนวนเงินทั้งหมดที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกิน 4,000 บาท

(2) ค่ายา เบิกได้ไม่เกินที่ใบเสร็จรับเงินระบุว่าเป็น “ค่ายาที่เบิกได้” หรือ “ค่ายาในบัญชียาหลักแห่งชาติ” หรือ “ค่ายาในบัญชียาของสถานพยาบาล” หรือ “ค่ายานอกบัญชียา” แต่สถานพยาบาลออกหนังสือรับรองให้ว่าจำเป็นต้องใช้ยานั้น

(3) ค่าอวัยวะเทียม ค่าอุปกรณ์ในการบำบัดรักษา และค่าซ่อมแซมอวัยวะเทียมเบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด

(4) กรณีคนไข้ใน ค่าเตียงสามัญ และค่าอาหาร เบิกได้ไม่เกินวันละ 400 บาท กรณีอื่นเบิกได้ไม่เกินวันละ 1,000 บาท และไม่เกิน 13 วัน

(5) การตรวจสุขภาพประจำปีให้สำหรับข้าราชการ ลูกจ้างประจำ หรือผู้ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญที่เข้ารับการตรวจสุขภาพในสถานพยาบาลของทางราชการ มีสิทธิเบิกค่าตรวจสุขภาพประจำปี ติดต่อสอบถาม กรมบัญชีกลาง และส่วนราชการที่สังกัด

    หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ สปสช. โทร. 1330 หรือ ประกันสังคม โทร. 1506 📞

    สอบถามเพิ่มเติมที่ สายด่วนคนพิการ โทร 1479

    ใส่ความเห็น

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *