การจัดหางานและ ส่งเสริมอาชีพ

1. การจัดหางานโดยกระทรวงแรงงาน

บริการ

  • กระทรวงแรงงานมีหน่วยงาน จัดหางาน ที่ช่วยคนพิการหางานที่เหมาะสมกับความสามารถ
  • มีบริการให้คำปรึกษาและฝึกอบรมก่อนเริ่มงาน

ขั้นตอน

  1. ติดต่อสำนักงานจัดหางานในพื้นที่หรือผ่านเว็บไซต์
  2. ลงทะเบียนพร้อมข้อมูลส่วนตัว
  3. เลือกงานที่ตรงกับความสามารถและความสนใจ

2. สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานโดยกระทรวงแรงงาน

สิทธิประโยชน์

  • คนพิการที่ทำงานได้รับสิทธิเท่าเทียมกับพนักงานทั่วไป เช่น
    • ค่าจ้างขั้นต่ำ
    • ประกันสังคม
    • การคุ้มครองความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน

หน่วยงาน

  • สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่พร้อมให้คำปรึกษา

3. การจ้างงานคนพิการตามมาตรา 33

กรณีสถานประกอบการเอกชน นายจ้าง หรือเจ้าของสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง ตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ต้องรับคน พิการเข้าทำงาน 1 คน (อัตราส่วน 100:1) เศษของ 100 คน ถ้าเกิน 50 คนต้องรับคนพิการเพิ่มอีก 1 คน การนับจำนวนลูกจ้าง ให้นับทุกวันที่ 1 ตุลาคมของแต่ละปี เพื่อคำนวณจำนวนคนพิการที่จะต้องรับเข้าทำงาน นายจ้างหรือสถานประกอบการมีหน่วยงานหรือสาขาในจังหวัดให้นับลูกจ้างทุกสาขาในจังหวัดนั้นเข้าด้วยกัน

กรณีหน่วยงานของรัฐ “ผู้ปฏิบัติงาน” หมายถึง ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการพนักงาน ยกเว้นลูกจ้างชั่วคราวและลูกจ้างโครงการ

  • ส่วนราชการระดับกระทรวง ให้นับจำนวนผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดเข้าด้วยกันเพื่อให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้จัดสรรให้แต่ละส่วนราชการ
  • องค์กรการปกครองท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และหน่วยงานอื่นของรัฐ ให้นับตามนิติบุคคล

ตัวอย่างการคำนวณ เช่น

  • ลูกจ้างที่ไม่พิการ ทั้งหมด 100 – 150 คน ต้องรับลูกจ้างที่เป็นคนพิการ อย่างน้อย 1 คน
  • ลูกจ้างที่ไม่พิการ ทั้งหมด 151 – 250 คน ต้องรับลูกจ้างที่เป็นคนพิการ อย่างน้อย 2 คน

เอกสารประกอบการสมัครงาน  

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 
  2. สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ 
  3. สำเนาทะเบียนบ้าน 
  4. รูปถ่ายขนาด1 นิ้ว (ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน) 
  5. สำเนาวุฒิการศึกษา  
  6. ประกาศนียบัตรรับรองว่าผ่านการอบรมหลักสูตรต่างๆ (ถ้ามี) 
  7. ผลงานหรือการผ่านการอบรมหลักสูตรต่างๆ (ถ้ามี)
  8. ประวัติส่วนตัว (Resume) 

ติดต่อสอบถาม

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

เลขที่ 255 อาคาร 60 ปี กรมประชาสงเคราะห์ ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์ 0 2354 3388 โทรสาร 02354 5020 Email : webmaster@dep.go.th

กรมการจัดหางาน

ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ศูนย์มิตรไมตรี: โทร 1694 หรือ สายด่วนกรมการจัดหางาน: 1506 กด 2 Email : saraban@doe.go.th

4. ผู้สอนงาน (Job Coach)

Coach หรือ ผู้สอนงาน คือ เจ้าหน้าที่ที่ให้การสนับสนุนและคำแนะนำเฉพาะทางแก่คนพิการ ช่วยให้คนพิการได้รับและรักษาการจ้างงานที่มีความหมาย เป้าหมายของผู้สอนงานคือการให้อำนาจคนพิการในการเอาชนะอุปสรรค พัฒนาทักษะ และบรรลุแรงบันดาลใจในอาชีพของคนพิการ โดยมีความรับผิดชอบหลายอย่าง เช่น 

  1. การประเมิน : การประเมินทักษะ ความสนใจ จุดแข็ง และความท้าทายของแต่ละบุคคลเพื่อกำหนดโอกาสในการทำงานและเป้าหมายในอาชีพที่เหมาะสม 
  2. การพัฒนางาน : ระบุนายจ้างที่มีศักยภาพและโอกาสในการทำงานที่ตรงกับทักษะและความชอบของแต่ละคน และช่วยเหลือในการสมัครงาน สัมภาษณ์ และแง่มุมอื่น ๆ ของกระบวนการหางาน 
  3. การฝึกอบรมภาคปฏิบัติ : ให้การสนับสนุนภาคปฏิบัติแก่คนพิการเมื่อพวกเขาเรียนรู้งานและความรับผิดชอบของงานใหม่ ซึ่งอาจรวมถึงการสาธิตงาน ให้คำแนะนำและคำติชม และช่วยแต่ละคนพัฒนากลยุทธ์เพื่อจัดการกับความท้าทายต่างๆ 
  4. ที่พักในที่ทำงาน : ร่วมมือกับนายจ้างเพื่อระบุและใช้ที่พักที่เหมาะสมซึ่งช่วยให้คนพิการสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจรวมถึงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำงาน ปรับตารางเวลา หรือจัดหาเทคโนโลยีช่วยเหลือ 
  5. การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง : ให้การสนับสนุนระยะยาวเพื่อช่วยให้คนพิการประสบความสำเร็จในที่ทำงาน ซึ่งอาจรวมถึงการเช็คอินเป็นระยะ การฝึกอบรมเพิ่มเติม และความช่วยเหลือในการนำทางความสัมพันธ์ในที่ทำงานหรือจัดการกับความท้าทายที่กำลังดำเนินอยู่ 
  6. การสนับสนุน : การทำงานร่วมกับนายจ้าง นักการศึกษา และผู้กำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานแบบมีส่วนร่วมและโอกาสที่เท่าเทียมกันสำหรับคนพิการ 

ผู้สอนงานอาจทำงานให้กับหน่วยงานของรัฐ องค์กรไม่แสวงหากำไร โรงเรียน หรือบริษัทเอกชน โดยอาจทำงานร่วมกับมืออาชีพอื่นๆ เช่น ที่ปรึกษาด้านการฟื้นฟูอาชีพ นักกายภาพบำบัด เพื่อให้การสนับสนุนที่ครอบคลุมแก่คนพิการ โดยรวมแล้ว การฝึกสอนงานเป็นบริการที่สำคัญที่ช่วยให้คนพิการสามารถบรรลุเป้าหมายในอาชีพและมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายต่อสังคม 

ติดต่อสอบถาม

มูลนิธิศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการ ที่อยู่ 108/346 หมู่บ้านกฤษดานคร 10 ซอยแสนผาสุก 29 ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110 โทรศัพท์: 0-2594-2296

5. การส่งเสริมอาชีพคนพิการตามมาตรา 35

หากหน่วยงานรัฐหรือสถานประกอบการไม่รับคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา 33 และไม่ส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา 34 สามารถเลือกสนับสนุนคนพิการด้วยวิธีอื่น เช่น ให้สัมปทาน จัดสถานที่ขายสินค้า/บริการ จ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน จัดอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงการช่วยเหลืออื่น ๆ ได้. 

วิธีการการส่งเสริมอาชีพคนพิการตามมาตรา 35  

  1. การให้สัมปทาน เช่น การให้ใช้ประโยชน์จากอาคาร สถานที่หรือทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐหรือสถานประกอบการ การให้สิทธิ์ในลิขสิทธิ์ในการจำหน่ายสินค้า 
  2. การจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ  
  3. การจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือการจ้างเหมาบริการ  
  4. การฝึกงาน  
  5. การจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก  
  6. การจัดให้มีบริการล่ามภาษามือ  
  7. การช่วยเหลืออื่นใด 

เงื่อนไขการขอใช้สิทธิ

  1. ผู้ดูแลคนพิการที่จะขอใช้สิทธิสัมปทานแทนผู้พิการต้องดูแลคนพิการที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ เช่น เป็นผู้เยาว์ ผู้สูงอายุ บุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถหรือมีสภาพความพิการถึงขั้นที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (ต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลจาก พก. หรือ พมจ. ตามภูมิลำเนาของคนพิการ) 
  2. คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการสามารถยื่นขอรับสิทธิได้หลายแห่งแต่ใช้สิทธิได้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น 
  3. ทำสัญญาหรือข้อตกลง และแจ้งให้สำนักงานจัดหางานจังหวัดหรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ ภายในวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี 
  4. สถานที่จัดสัมปทานต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่จัดหางานตรวจเยี่ยม หากพบว่าไม่เป็นไปตามระเบียบให้แจ้งกรม พก./พมจ. เพื่อเรียกให้ส่งเงินเข้ากองทุนฯ แทนการให้สัมปทาน  
  5. คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการที่ได้รับสิทธิสัมปทานจะจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิหรือให้ผู้อื่นเช่าช่วงสิทธิไม่ได้  
  6. ถ้าคนพิการที่ได้รับสิทธิตายให้สิทธินั้นสิ้นสุด ถ้าผู้ดูแลได้รับสิทธิตายให้ผู้ดูแลคนใหม่เข้ารับสิทธินั้นแทน 
  7. ถ้าคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการที่ได้รับสิทธิเลิกกิจการต้องหาคนพิการใหม่เข้ามาทำกิจการแทนภายใน 45 วัน 

สถานที่ยื่นคำขอใช้สิทธิ 

  • กรุงเทพมหานคร : ให้ยื่น ณ สํานักจัดหางานกรุงเทพมหานครเขต 1-10  
  • จังหวัดอื่น : ให้ยื่น ณ สํานักงานจัดหางานจังหวัด 

6. การจดทะเบียนจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคม

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม จัดตั้งตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562 เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมาย

ผู้ที่เกี่ยวข้อง

1. “วิสาหกิจเพื่อสังคม” หมายความว่า บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือ นิติบุคคลอื่น ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งดำเนินกิจการเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายสินค้า หรือการบริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสังคม เป้าหมายหลักของกิจการ และได้รับการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้

2. “กลุ่มกิจการเพื่อสังคม” หมายความว่า บุคคลธรรมดา กลุ่มบุคคล ชุมชน หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งดำเนินกิจการเกี่ยวกับ การผลิต การจำหน่ายสินค้า หรือการบริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสังคม เป้าหมายหลักของกิจการ และได้รับการจดแจ้งเป็นกลุ่มกิจการเพื่อสังคมตามพระราชบัญญัตินี้

ลักษณะของกิจการที่จะจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม

1. มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมการจ้างงานแก่บุคคลผู้สมควรได้รับการส่งเสริมเป็นพิเศษ การแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาชุมชน สังคม หรือสิ่งแวดล้อม หรือเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอื่นหรือคืนประโยชน์ให้แก่สังคมตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

2. มีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 มาจากการจำหน่ายสินค้าหรือการบริการ เว้นแต่กิจการที่ไม่ประสงค์จะแบ่งปันกำไรให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นอาจมีรายได้น้อยกว่าร้อยละห้าสิบมาจากการจำหน่ายสินค้าหรือการบริการ

3. นำผลกำไรไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ไปใช้ตามวัตถุประสงค์ และ แบ่งปันกำไรให้แก่ผู้เป็นเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของผลกำไรทั้งหมด โดยให้ถือว่าการลงทุนในกิจการของตนเองซึ่งมีกระบวนการผลิตหรือการบริการที่มีลักษณะตามวัตถุประสงค์ หรือการขยายกิจการเพื่อวัตถุประสงค์ ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนดเป็นการนำผลกำไรไปใช้เพื่อสังคม

4 มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี

5 ไม่เคยถูกเพิกถอนการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม เว้นแต่พ้นกำหนดสองปีนับถึงวันยื่นคำขอจดทะเบียนเพื่อขอรับการส่งเสริมหรือสนับสนุนตามพระราชบัญญัตินี้

6 ไม่มีหุ้นส่วน กรรมการหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคล หรือผู้ถือหุ้น ซึ่งถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 25 ขึ้นไป ซึ่งเคยเป็นหุ้นส่วน กรรมการหรือผู้มี อำนาจจัดการแทนนิติบุคคล หรือผู้ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 25 ขึ้นไปในกิจการที่เคยถูกเพิกถอนการจดทะเบียน เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนร่วมหรือรู้เห็นกับการกระทำของนิติบุคคลที่เป็นเหตุให้ถูกเพิกถอนการจดทะเบียน

รายการยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม

1. ชื่อกิจการและที่ตั้งของนิติบุคคล

2. หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

3. มติของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ข้อตกลงของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนหรือมติ ของคณะกรรมการของนิติบุคคล

4. ชื่อและที่อยู่ของผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล

5. หนังสือบริคณห์สนธิ (ถ้ามี)

6. หนังสือแสดงเจตนารมณ์การจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคมและรายละเอียดของกิจการซึ่งดำเนินกิจการมาแล้วตามระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด

7. ความประสงค์ที่จะจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมตามมาตรา 6 (1) หรือ (2) (8) รายการอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.osep.or.th/

ติดต่อสอบถาม

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.)

สอบถามเพิ่มเติมที่ สายด่วนคนพิการ โทร 1479

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *