เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 นายเจริญ คุวินทร์พันธุ์ เป็นผู้แทนสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย เข้าร่วมลงพื้นที่ติดตาโครงการและประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ ครั้งที่ 5/2563 เวลา 10.00-16.30 น. ณ ห้องนวัตกรรมการเรียนรู้การศึกษาพิเศษ ศูนย์การจัดการศึกษาพิเศษ “คุณพุ่ม” อาคาร 2 ชั้น 1 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน มีใจความสำคัญดังนี้
-ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
1.ประเทศไทย ขาดแคลนครุและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอนเด็กพิเศษในการศึกษาแบบเรียนรวม
2.ในักเรียนพิเศษมีอัตราเพิ่มขึ้นและเรียนรวกับเด็กทั่วไปเกือบทุกโรงเรียน
3.ครูในโรงเรียนทั่วไปที่จัดการศึกษาเรียนรวม ขาดทักษะการเรียนการสอนเด็กพิเศษ และโรงเรียนเรียนรวมต้องการครูการศึกษาพิเศษ และครูแนะแนว
-วัตถุประสงค์
โครงการนี้ มุ่งเน้นพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความสามารถและทักษะจัดการเรียนการสอนเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษของโรงเรียนเรียนรวม โดยเฉพาะการสอนบุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ ม.เกษตรศาตร์ จึงได้จัดให้มีหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ โดยรับสมัครครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้าเรียนหลักสูตรดังกล่าว จำนวน 80 คน โดยกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการสนับสนุนทุนให้แก่ผู้เรียน เป็นเงินคนละ 200,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 16,000,000 บาท
-ผลการดำเนินงาน
นิสิตรุ่นที่ 1 มีจำนวน 23 คน และรุ่นที่ 2 มีจำนวน 10 คน เหตุที่รุ่นที่ 2 มีนิสิตเรียนน้อย เนื่องจากสอบไม่ผ่านข้อเขียน การสอบเน้นการอ่านจับใจความ ไม่ได้สอบเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ แตู่้สอบตอบคำถามไม่ตรงประเด็น ไม่สามารถวิเคราะห์สรุปประเด็นจากบทความได้ ส่วนใหญ่ไม่สามารถอ่าน เขียน และแปลภาษาอังกฤษเบื้องต้นได้
• นายเจริญ คุวินทร์พันธุ์ ผู้แทนสมาคมสภาฯ ให้ความเห็นว่าความต้องการของพ่อแม่ผู้ปกครอง คือ ครูขาดทักษะฝึกสอนเด็กพิเศษ ต้องการครูที่มีความสามารถและมีทักษะฝึกสอนเด็กพิเศษ ดังนั้นเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกผู้มาเรียนหลักสูตรนี้ควรพิจารณาครูที่มีจิตวิญญาณที่จะช่วยเด็กจริงจังเป็นหลักมากกว่าคำนึงถึงว่าผู้เรียนต้องสอบผ่านทักษะด้านภาษาอังกฤษ
• นอกจากนั้น คณะอนุกรรมการติดตามฯ มีความเห็นว่าการสอบคัดเลือกนิสิตรุ่นที่ 3 และ 4 ขอให้มีข้อสอบแบบปลายเปิดแสดงความคิดเห็นของนิสิตและให้มาพัฒนาต่อระหว่างเรียน เกณฑ์การสอบคัดเลือกขอให้ลดระนาบลงมาโดยหากสอบภาษาอังกฤษไม่ผ่านในช่วงคัดเลือก ก็สามารถเข้ามาเรียนหลักสูตรนี้ได้ และให้นิสิตมาสอบภาษาอังกฤษให้ผ่านในระหว่างเรียน 2 ปี
• ขอให้มีวิจัยผลการนำหลักสูตรนี้ไปใช้ โดยดู OUT COME ที่เกิดกับตัวเด็กพิเศษว่าจากการที่ครูและบุคลากรศึกษาพิเศษจบไปแล้ว ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเด็กพิเศษอย่างไร หากค้นพบแล้วว่าหลักสูตรนี้เกิดผลกระทบที่ดีต่อเด็ก ขอให้เสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการด้วย
• คณะอนุกรรมการติดตามฯ เสนอแนะว่าผู้บริหารของกระทรวงศึกษาธิการฯ ควรจะเสนอต่อ กพ.ว่าครูที่สอนดูแลเด็กพิเศษ มีความยากลำบากกว่าดูแลเด็กทั่วไป จึงควรจะมีเงินเพิ่มให้แก่ครูเหล่านี้
เมื่อเสร็จสิ้นการติดตามประเมินผลโครงการข้างต้นแล้ว จึงมีการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลฯ ครั้งที่ 5/2563 ต่อ โดยได้พิจารณาติดตามโครงกา 3 โครงการ ได้แก่
1.โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมในสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการอาชีวศึกษา หน่วยงานที่รับผิดชอบ สนง.คณะกรรมการอาชีวศึกษา (ศูนย์พัฒนาส่งเสริมประสานงานกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ) ได้รับเงินสนับสนุน 14,340,400 บาท โครงการนี้ กิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด สอศ. จำนวน 30 คน 4 รุ่น ปรากฎว่าไม่ได้ทำ เนื่องจากผู้รับผิดชอบโครงการเกษียณราชการ และยังไม่มีการมอบหมายงานให้คนใหม่เป็นลายลักษณ์อักษร
2.โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในสถาบันอาชีวศึกษา
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สนง.คณะกรรมการอาชีวศึกษา (วิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล) ได้รับเงินสนับสนุน 5,906,650 บาท
โครงการนี้ ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนที่กำหนดไว้ และมีผลลัพธ์เป็นไปตามวัตถุประสงค์/เป้าหมายของโครงการ คืนเงินคงเหลือและส่งรายงานผลการดำเนินโครงการเรียบร้อยแล้ว
3.โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ(ศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง) ได้รับเงินสนับสนุน 20,328,875 บาท
โครงการนี้ อยู่ระหว่างการดำเนินกิจกรรมที่ 3 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ดำเนินการจัดการศึกษาในหลักสูตรศึกษาศาสตมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาพิเศษให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา รุ่นที่ 3 และรุ่นที่ 4 รวมนิสิต 47 คน
ที่ประชุมมีมติลงพื้นที่ติดตามโครงการที่ 2 โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในสถาบันอาชีวศึกษา หน่วยงานที่รับผิดชอบ สนง.คณะกรรมการอาชีวศึกษา (วิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล) เพื่อไปดูผลลัพธ์ที่ได้ว่าเป็นอย่างไร และเป็นกำลังใจให้ผู้ดำเนินโครงการ
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก https://www.facebook.com/disabilitiesth/posts/1047321088957684?__tn__=K-R