ประชุมคณะกรรมการสุขภาพคนพิการ ครั้งที่ 2 ณ อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข

ในภาพอาจจะมี 2 คน, หน้าจอ และ สถานที่ในร่ม

 

ประชุมคณะกรรมการสุขภาพคนพิการ ครั้งที่ 2 ณ อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข

 

นายวิเชียร หัสถาดล ประธานฝ่ายฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เป็นผู้แทนสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสุขภาพคนพิการ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563 เวลา 13.30 น. ณ อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข โดยประชุมครั้งนี้มี น.พ.สุวิทย์ วิบูลผลประเสริฐ เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมได้หารือ 3 ประเด็น

1.รายงานความก้าวหน้าของการปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุข บริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ 26 รายการ

สถาบันสิรินธรฯ รายงานว่า ตามที่คณะทำงานทบทวนแนวทางการดำเนินงานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์พิจารณาลดเหลือ 20 รายการนั้น ต่อมาสถาบันสิรินธรฯ ได้รับหนังสือจากสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทยว่าขอให้คงรายการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพฯ ไว้ 26 รายการ ขณะนี้จึงยังคงรายการไว้ 26 รายการ และจะนำข้อเสนอดังกล่าวเสนอเข้าไปใหม่ในคณะกรรมการ ขณะนี้อยู่ระหว่างรองบประมาณเพื่อจัดประชุมจากกรมการแพทย์
ปัจจุบัน สิทธิหลักประกันสุขภาพ สามารถเบิกค่าใช้จ่ายบริการฟื้นฟูฯ ได้เพียง 9 รายการจาก 26 รายการ และรายการเครื่องช่วยความพิการ จำนวน 76 รายการ

 

2.รายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการพัฒนาศูนย์บริการคนพิการทั่วไปเพื่อเป็นหน่วยร่วมให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และการนำร่องศูนย์บริการคนพิการทั่วไปที่จะให้บริการฝึกทักษะการดำรงชีวิตอิสระสำหรับคนพิการทางกายและการเคลิ่อนไหว ประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา ประกาศ ณ 28 พฤศจิกายน 2562 กำหนดให้ศูนย์บริการคนพิการทั่วไปที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับรองหรือศูนย์บริการคนพิการอื่นที่เข้าหลักเกณฑ์ สปสช. กำหนด สามารถขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยร่วมให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำเกณฑ์การขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยร่วมบริการ และจัดทำมาตรฐานการบริการ โดยนำร่องบริการฝึกทักษะการดำรงชีวิตอิสระ 3 จังหวัด ได้แก่ชลบุรี ปทุมธานี นนทบุรี และมีสถาบันวิชาการได้แก่ วิทยาลัยราชสุดา และสถาบันสิรินธรฯ เข้ามาช่วยสนับสนุนทางวิชาการ


นอกจากนั้น ที่ประชุมมอบหมายให้นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ ประสานงานกับองค์กรคนพิการประเภทอื่นๆ และสถาบันวิชาการที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสุขภาพจิต ที่สนใจจะเข้ามาร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาศูนย์บริการคนพิการทั่วไปเพื่อเป็นหน่วยร่วมให้บริการ

 

3.การติดตามการพัฒนาระบบฟื้นฟูคนพิการทางการได้ยิน จากงานวิจัย “ศึกษาแผนการเพิ่มจำนวนนักเวชศาสตร์การสื่อความหมายและการกระจายที่เหมาะสม” สถานการณ์นักเวชศาสตร์การสื่อความหมายในประเทศไทย พบว่า ปัจจุบันมีจำนวน 384 ราย (นักแก้ไขการพูด 199 คน นักแก้ไขการได้ยิน 185 คน) ขณะที่ความต้องการในปี 2561 จำนวนมากถึง 1024 คน ดังนั้นจำเป็นต้องผลิตนักเวชาศาสตร์การสื่อความหมายทั้งในระดับอนุปริญญา ปริญญาตรีและปริญญาโท โดยควรมีการกำหนดอัตรากำลังคน ตำแหน่ง รวมถึงพัฒนาให้บุคลากรในโรงพยาบาล เช่น พยาบาล สามารถจัดบริการฟื้นฟูคนพิการทางการได้ยินด้วย ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จัดทำหลักสูตรสาขาวิทยาศาสตร์การสื่อความหมายเพื่อจะได้เพิ่มการผลิตนักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย ทั้งนี้ ที่ประชุมขอให้ผู้วิจัยเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อนำไปสู่การเสนอต่อรัฐบาลหรือกระทรวงสาธารณสุขต่อไป

 

ในภาพอาจจะมี 5 คน, ผู้คนกำลังนั่ง, ตาราง และ สถานที่ในร่ม

 

ในภาพอาจจะมี 3 คน, ผู้คนกำลังนั่ง และ สถานที่ในร่ม

 

ในภาพอาจจะมี 7 คน, ผู้คนกำลังนั่ง, ตาราง และ สถานที่ในร่ม

 

ในภาพอาจจะมี 3 คน, ผู้คนกำลังนั่ง, ตาราง และ สถานที่ในร่ม

 

ในภาพอาจจะมี 5 คน, ผู้คนกำลังนั่ง และ สถานที่ในร่ม

 

ในภาพอาจจะมี 5 คน, ผู้คนกำลังนั่ง, ตาราง และ สถานที่ในร่ม

 

ในภาพอาจจะมี 4 คน, ผู้คนกำลังนั่ง, ตาราง และ สถานที่ในร่ม

 

ในภาพอาจจะมี ข้อความ

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก  https://www.facebook.com/pg/disabilitiesth/posts/?ref=page_internal

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *