FAQ




คำถามที่พบบ่อย

สิทธิของคนพิการ

แจ้งเอกสารทำบัตรคนพิการ

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

2. สำเนาทะเบียนบ้านของคนพิการ

3. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป

4. ใบรับรองความพิการ

5. สถานที่ให้บริการออกบัตรประจำตัวคนพิการ
   5.1 กรุงเทพมหานคร
    (1) ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร ณ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
    (2) โรงพยาบาลสิรินธร
    (3) โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
    (4) สถาบันราชานุกูล
    (5) โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
    (6) โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
    (7) ศูนย์บริการคนพิการสายไหม เคหะเอื้ออาทรสายไหม
    (8) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)
**หมายเหตุ หน่วยออกบัตรประจำตัวคนพิการ ข้อ 2.1 จะหยุดทุกวันทำการ ทุกสิ้นเดือน 
   5.2 ศูนย์บริการคนพิการจังหวัด……..

6. สถานที่ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ
   6.1 กรุงเทพมหานคร
    (1) ฝ่ายสังคมสงเคราะห์งานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศิริราช
    (2) ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี
    (3) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
   6.2 จังหวัด
    (1) โรงพยาบาลประจำจังหวัด/อำเภอ ที่มีศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในโรงพยาบาล
    (2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    (3) หรือหน่วยงานของรัฐอื่นตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด

คุณสมบัติผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยความพิการ

  1. มีสัญชาติไทย
  2. มีบัตรประจำตัวคนพิกา
  3. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่ที่ยื่นเรื่อง
  4. ไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์ของรัฐ

การยื่นคำขอลงทะเบียนรับเบี้ยความพิการ

เอกสารหลักฐานประกอบการขอรับสิทธิเบี้ยความพิการ

  1. สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
  2. สำเนาทะเบียนบ้านที่คนพิการมีชื่ออยู่ (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
  3.  หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ดูแลคนพิการ ที่มีการเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามของผู้ดูแลคนพิการ)
  4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารของคนพิการ/สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ดูแลคนพิการ มีการเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามของผู้ดูแลคนพิการ)
    1.  

สถานที่ลงทะเบียนขอรับสิทธิเบี้ยความพิการ

  1. ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมของสำนักงานเขตที่คนพิการมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน
  2. องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือเทศบาลที่ผู้พิการมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน
  3. คนพิการที่ต้องขังหรือจำคุกในเรือนจำ ทัณฑสถาน สถานที่คุมขังของกรมราชทัณฑ์ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนหรือศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน ให้ยื่นคำขอรับต่อผู้บัญชาการเรือนจำ ผู้อำนวยการทัณฑสถาน ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน หรือผู้บริหาร เพื่อนำส่งต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามภูมิลำเนาของคนพิการ

วิธีการรับเงินเบี้ยความพิการ

เมื่อคนพิการลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเบี้ยความพิการแล้ว จะมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยความพิการในเดือนถัดไป โดยมีวิธีการดังนี้

  • รับเงินสดด้วยต้นเอง
  • รับเงินสดโดยบุคคลที่เป็นผู้ดูแลคนพิการ
  • โอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามของคนพิการ
  • โอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามของผู้ดูแลคนพิการ

หมายเหตุ

  • จ่ายทุกวันที่ 10 ของเดือนหากเดือนใดวันที่ 10 ตรงกับวันหยุดราชการจะจ่ายในวันทำการก่อนวันหยุดนั้น สามารถตรวจสอบวันที่ได้จากกรมบัญชีกลางผ่านทาง Call Center 02 270 6400 หรือเว็บไซต์ https://www.cgd.go.th/
  • การโอนเงินเข้าบัญชีให้กับผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยความพิการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจประสานผ่านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเพื่อให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้ดําเนินการแทนก็ได้ (อ้างอิงจากระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยความพิการให้คนพิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561 ข้อ 3)

การสิ้นสุดการได้รับเบี้ยความพิการ

    1. ตาย (กรณีผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยความพิการเสียชีวิต) หากเป็นการเสียชีวิตตั้งแต่วันที่ จนถึงวันกำหนดการจ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการจ่ายเงินให้แก่ผู้ที่ผู้มีสิทธิรับเงินได้แสดงเจตจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรให้รับเงินแทน ทั้งในขณะมีชีวิตอยู่หรือเสียชีวิตแล้ว)
    2. ขาดคุณสมบัติผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยความพิการ
    3. แจ้งสละสิทธิการขอรับเงินเบี้ยความพิการเป็นหนังสือต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยความพิการ

ติดต่อสอบถามรายละเอียด

  • โทร 1479 สายด่วนคนพิการประชารัฐ ตลอด 24 ชั่วโมง  (เครือข่าย TRUE/AIS โทรฟรี) 
  1.  

การกู้ยืมเงินคนพิการจะต้องยื่นเรื่องตามภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน วงเงินในการกู้ยืมเงิน 60000 - 120000 บาท ผ่อนในระยะเวลา 5 ปีไม่มีดอกเบี้ย ส่วนผู้ค้ำถ้าเป็นบุคคลทั่วไปต้องมีเงินเดือน 1 หมื่นบาทขึ้นไปและต้องมีหนังสือรับรองเงินเดือน/ข้าราชการต้องซี 3 ขึ้นไป และต้องมีหนังสือรับรองเงินเดือน

เอกสารในการยืนเรื่องมี ดังนี้

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคนพิการ

2. สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ

3. สำเนาทะเบียนบ้าน

4. แผนผังที่อยู่อาศัย

5. แผนผังสถานที่ประกอบอาชีพ

6. ประมาณการค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพที่ขอกู้

7. รูปถ่ายเต็มตัวผู้กู้

8. สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ค้ำประกัน

9. หนังสือรับรองเงินเดือนของผู้ค้ำประกัน (เว้นแต่เป็นเกษตรกร)

10.สำเนาสมุดเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทยเท่านั้น

ไปดำเนินการยื่นเรื่องได้ที่ ในวันเวลา-ราชการ

ต่างจังหวัด

ติดต่อกับทางสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ในวันเวลาราชการ เพื่อสอบถามความคืบหน้าการกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพของคนพิการ พร้อมทั้งแจ้งเบอร์โทรศัพท์ในการติดต่อ

กรุงเทพฯ

ติดต่อกับทางศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร สาขา บ้านราชวิถี ในวันเวลาราชการ เพื่อสอบถามความคืบหน้าการกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพของคนพิการ พร้อมทั้งแจ้งเบอร์โทรศัพท์ในการติดต่อ

คนพิการต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  1. มีบัตรประจำตัวคนพิการ
  2. เป็นคนพิการที่มีความจำเป็นต้องใช้ผู้ช่วยคนพิการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจวัตรที่สำคัญในการดำรงชีวิตได้
  3. ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐอื่น หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ

หลักฐานที่ใช้ในการยื่นคำขอ

คนพิการที่ประสงค์จะยื่นคำขอมีผู้ช่วยคนพิการ จะต้องเตรียมหลักฐานดังต่อไปนี้ ไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ณ หน่วยรับคำขอ หรือหน่วยบริการในพื้นที่

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
  2. รูปถ่าย 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จำนวน 2 ใบ
  3. แบบคำขอมีผู้ช่วยคนพิการ (แบบ ผช.1) จำนวน 1 ชุด (ดาวน์โหลดได้จากเอกสารประกอบด้านล่าง)

ในกรณีที่คนพิการเป็นผู้เยาว์หรือมีความพิการถึงขั้นที่ไม่สามารถยื่นคำขอด้วยตนเองได้ ให้ผู้ดูแลคนพิการยื่นคำขอแทนได้

สถานที่ยื่นคำขอใช้บริการผู้ช่วยคนพิการ

  1. กรุงเทพมหานคร  ยื่นต่อศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 
  2. ต่างจังหวัด ยื่นต่อสำนักงานพัฒนาสังคมปละความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือหน่วยบริการในพื้นที่ ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด

บริการทางการแพทย์ คือ การรักษาพยาบาล เพื่อแก้ไขความพิการหรือเพื่อปรับสภาพความพิการ กายอุปกรณ์และเครื่องช่วยคนพิการต่างๆ คำแนะนำปรึกษาทางการแพทย์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ติดต่อขอรับบริการได้ที่สถานพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ บริการทางการศึกษา คือ การเข้าเรียนในสถานศึกษาต่างๆ อุปกรณ์และค่าใช้จ่ายในการเรียน คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการศึกษา ติดต่อขอรับบริการได้ที่ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด บริการทางอาชีพ คือ การจัดฝึกอาชีพและแนะนำการประกอบอาชีพ และให้กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ บริการทางสังคม คือ ให้คำปรึกษาแนะนำ บริการช่วยเหลือเด็กพิการ และครอบครัวคนพิการที่มีฐานะยากจนและประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ รวมถึงเบี้ยยังชีพคนพิการ ให้กับคนพิการที่มีสภาพความพิการมากจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้และมีฐานะ ยากจน ซึ่งบริการทางอาชีพและสังคม ติดต่อขอรับบริการได้ที่หน่วยงานที่ให้บริการแก่คนพิการในสังกัดกระทรวงการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานเขตทุกเขตทุกเขตในกรุงเทพมหานคร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดที่คนพิการมีภูมิลำเนาอยู่

การจ้างคนพิการ

นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป รับคนพิการที่สามารถทำงานได้ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด ในอัตราส่วนลูกจ้างที่ไม่ใช่คนพิการหนึ่งคน เศษของหนึ่งร้อยคนถ้าเกินห้าสิบคนต้องรับคนพิการเพิ่มอีกหนึ่งคน

ตัวอย่างคำนวณง่ายๆ สัดส่วนการจ้างงาน (หากจะจ้างเกินกว่านี้ ... ก็ยินดีหลายๆ)

- ลูกจ้างที่ไม่พิการ ทั้งบริษัท 100 - 150 คน ต้องรับ ลูกจ้างที่เป็นคนพิการ 1 คน
- ลูกจ้างที่ไม่พิการ ทั้งบริษัท 151 -250 คน ต้องรับ ลูกจ้างที่เป็นคนพิการ 2 คน
- ลูกจ้างที่ไม่พิการ ทั้งบริษัท 251- 350 คน ต้องรับ ลูกจ้างที่เป็นคนพิการ 3 คน

ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมฯมีเจตนารมณ์ให้คนพิการได้รับการคุ้มครองสิทธิโดยไม่เลือกปฏิบัติตามหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จึงได้กำหนดหน้าที่ให้หน่วยงานของรัฐและสถานประกอบการเอกชนรับคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา 33 ในอัตรา 100 : 1 หากไม่จ้างก็ให้ส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา 34 หรือให้สัมปทานตามมาตรา 35 หากพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนหรือมูลค่าการให้สัมปทานฯ ตามระเบียบล้วนแต่ใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำคูณด้วยสามหกห้าคูณด้วยจำนวนคนพิการที่มิได้จ้างงาน ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการจ้างคนพิการตามมาตรา 33 ต้องใกล้เคียงการดำเนินการตามมาตรา 34 หรือมาตรา 35 จึงจะเป็นไปตามหลักได้สัดส่วนและเป็นธรรมเหมาะสมตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่สำคัญคือ การจ้างโดยไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ โดยให้เปรียบเทียบลักษณะงานระหว่างลูกจ้างไม่พิการกับลูกจ้างพิการได้ ดังนั้นหากจ้างคนพิการเดือนละ 2 วันเป็นเงิน 600 บาทต่อเดือน จึงไม่ได้เป็นไปตามหลักสัดส่วนตามกฎหมายและไม่เป็นธรรมต่อคนพิการและสถานประกอบการที่ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด 

การคำนวณมูลค่าตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามอัตราอ้างอิงราคาในท้องตลาด กรณีไม่มีราคาตามท้องตลาดมาอ้างอิงให้เป็นไปตามอัตราที่ผู้รับการประเมินยื่นแบบการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินของราชการส่วนท้องถิ่นแห่งนั้น หรือตามอัตราที่คณะอนุกรรมการหรือคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัดประกาศกำหนด

1479 สายด่วนคนพิการ

440 ม.9 ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20150
1479 (เครือข่าย TRUE/AIS ฟรี) 24 ชม.

ช่องทางติดต่อเพิ่มเติม