เด็กใต้ฟันผุ กว่า 80% จนหมอฟันต้องชวนนายหนังตะลุง ร่วมแก้ปัญหา

เด็กใต้ฟันผุ กว่า 80% จนหมอฟันต้องชวนนายหนังตะลุง ร่วมแก้ปัญหา

ผืนหนังฉลุลวดลายตัวละครที่ถูกเชิดตามจังหวะเสียงกลอง ทับ โหม่ง และฉิ่ง อย่างมีชีวิตชีวาไม่แพ้ตัวการ์ตูนบนหน้าจอโทรศัพท์ และมาพร้อมกับเสียงพากย์จากนายหนังที่คอยเรียกเสียงหัวเราะ จนคนดูลืมก้มดูข่าวสารบนหน้าจอที่ไม่เคยหยุดเคลื่อนไหวไปชั่วขณะ

 

อาจเป็นเรื่องแปลกสำหรับคนภาคอื่นเวลาเห็นศิลปะการแสดงท้องถิ่นที่ยังได้รับความสนใจไม่แพ้สื่อสมัยใหม่ แต่สำหรับพี่น้องภาคใต้นั้นเป็นเรื่องปกติเวลาดูหนังตะลุง เพราะหนังตะลุงเป็นมากกว่าศิลปะการแสดง แต่เป็นทั้งเอกลักษณ์และสัญลักษณ์ของความผูกพันธ์ที่มีอย่างยาวนาน ตั้งแต่ยุคที่ยังใช้คบทางมะพร้าว ตะเกียงมันวัว ขี้ไต้น้ำมันยาง ตะเกียงเจ้าพายุ จนถึงยุคเครื่องปั่นไฟและยุคไฟฟ้าในปัจจุบัน

 

เด็กใต้ฟันผุ กว่า 80% จนหมอฟันต้องชวนนายหนังตะลุง ร่วมแก้ปัญหา

 

เด็กใต้ฟันผุ กว่า 80% จนหมอฟันต้องชวนนายหนังตะลุง ร่วมแก้ปัญหา

 

นอกจากนี้หนังตะลุงไม่เพียงแต่ให้ความบันเทิง แต่ยังสอดแทรกข่าวสาร สั่งสอนจริยธรรม สร้างความสัมพันธ์ในชุมชน บันทึกประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น รวมถึงเป็นโฆษณาทางการเมืองอีกด้วย หนังตะลุงจึงมีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยอยู่เสมอ เช่น ตัวละครแต่งตัวตามแฟชั่น มีมุกตลกล้อการเมืองในเวลานั้น  ที่สำคัญยังเป็นศิลปะท้องถิ่นที่ถูกถ่ายทอดสู่คนรุ่นใหม่ ไม่เลือนหายไปตามกาลเวลา ดังเช่น คณะหนังตะลุงน้องเดียวลูกทุ่งวัฒนธรรม ที่มีน้องเดียวหรือนายบัญญัติ สุวรรณแว่นทอง นายหนังผู้มีความพิการทางสายตา และได้รับความนิยมอย่างสูง การแสดงแต่ละครั้งมีผู้ชมจำนวนมาก มีบันทึกการแสดงเผยแพร่ทางออนไลน์ บางเรื่องมียอดการรับชมการแสดงมากกว่าเจ็ดล้านครั้ง

 

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เมื่อได้ยินว่า ตอนนี้หนังตะลุงยังถูกนำมาใช้เป็นสื่อรณรงค์ด้านสุขภาพ เพื่อแก้ปัญหาฟันผุในเด็กพื้นที่ภาคใต้ซึ่งกำลังทวีความรุนแรง โดยเริ่มต้นจากคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ซึ่งทำงานในพื้นที่ และพบว่า เด็ก ๆ ในภาคใต้กว่า 80% มีปัญหาฟันผุ

 

เด็กใต้ฟันผุ กว่า 80% จนหมอฟันต้องชวนนายหนังตะลุง ร่วมแก้ปัญหา

 

โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กที่ยังมีฟันน้ำนม เนื่องจากผู้ปกครองส่วนหนึ่งมีความเข้าใจผิดว่า ไม่จำเป็นต้องดูแลฟันน้ำนม เพราะเดี๋ยวก็หักและจะมีฟันแท้มาทดแทน ทั้งที่ฟันน้ำนมที่ผุ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมายในอนาคต เช่น ฟันซ้อนเก กลิ่นปาก กระทบต่อพัฒนาการของลูก เป็นต้น ด้วยเหตุนี้คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงชวนกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ห่วงใยสุขภาพคนไทยเสมอมา ร่วมกันทำแคมเปญรณรงค์ “แปรงฟันป้องกันอนาคตลูกผุ” เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหานี้  โดยหนึ่งในเครื่องมือเหล่านั้น คือการนำหนังตะลุงมาสร้างสรรค์เป็นคลิปความรู้ “เจ้าชายสู้ฟันผุ” โดยได้รับเกียรติจากนายณรงค์ จันทร์พุ่ม ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หนังตะลุง) พศ.2557 มาเป็นนายหนังร่วมกับ ทพญ.รัศมิ์ศิวรรณ์ นวนศรี ทันตแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลย่านตาขาว คุณหมอแอล หมอฟันประจำอำเภอย่านตาขาวจังหวัดตรัง  ถ่ายทอดเรื่องราวของเจ้าชายและคุณหมอที่มาช่วยเด็ก ๆ ที่มีปัญหาฟันผุ ด้วยการมอบแปรงสีฟัน สอนการแปรงที่ถูกวิธี และเน้นย้ำเรื่องการดูแลฟันตั้งแต่ฟันน้ำนม

 

การใช้หนังตะลุงเป็นเครื่องมือสร้างความเปลี่ยนแปลง คือตัวอย่างที่ดีของการเลือกรับ ปรับใช้สื่อให้เหมาะกับสภาพสังคมนั้น และเมื่อประกอบกับการช่วยกันคิด และช่วยกันลงมือทำ ก็แสดงให้เห็นว่า ไม่มีปัญหาไหนที่ยากเกินกว่าจะแก้ไขได้

 

เด็กใต้ฟันผุ กว่า 80% จนหมอฟันต้องชวนนายหนังตะลุง ร่วมแก้ปัญหา

 

เด็กใต้ฟันผุ กว่า 80% จนหมอฟันต้องชวนนายหนังตะลุง ร่วมแก้ปัญหา

 

 

ขอขอบคุณ  https://www.siamsport.co.th/newspr/other/view/209854

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *