“การสื่อสารกับการฝึกอบรมเพื่อความรู้” ร่วมไขปริศนาความพึงพอใจกับการรับรู้ข่าวสารและรับข้อมูลข่าวสารจากสื่ออย่างปลอดภัย กับ ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการตรวจสอบ และ ข้อปฏิบัติถึงการสื่อสารที่มีความปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงการรับสารข้อมูล
ด้าน ดร.ธนกร ศรีสุขใส กล่าวถึงความเป็นไปในแวดวงสื่อสารมวลชน ที่ด้านหนึ่งสื่อมีอิทธิพลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้คนในสังคม แต่อีกด้านหนึ่งคนทำงานด้านสื่อกลับต้องมุ่งเน้นผลิตเนื้อหาต้องมุ่งตอบโจทย์ด้านธุรกิจเพื่อความอยู่รอด จึงเป็นที่มาของ พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ.2558 กฎหมายที่ออกมาเพื่อจัดตั้งแหล่งทุนที่ไม่ขึ้นอยู่กับระบบธุรกิจ เป็นช่องทางสำหรับหนุนเสริมบุคคลหรือองค์กรที่ต้องการผลิตสื่อที่มีคุณภาพและมีประโยชน์ต่อสังคม โดยให้ทุนสนับสนุนของกองทุนฯ แบ่งเป็น 3 ประเภท
1. ประเภทเปิดรับทั่วไป โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่สื่อ การผลิตสื่อ สำหรับเด็กและเยาวชน , ผู้สูงอายุ ,คนพิการและผู้ด้อยโอกาสและประชนทั่วไป ทั้งนี้ ผู้ผลิตสื่อไม่ต้องจำเป็นต้องเป็นคนกลุ่มเดียวกับกลุ่มเป้าหมายก็ได้ อาทิ เยาวชนอาจผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับผู้สูงอายุ หรือผู้ใหญ่อาจทำเนื้อหาที่เกี่ยวกับเด็ก
2.ประเภทเชิงยุทธศาสตร์ โดยมีการตั้งประเด็นประจำปี โดยพิจารณาจากสถานการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น และประเด็นที่กองทุนฯ ให้ความสำคัญในปีนี้คือ รู้สิทธิและหน้าที่พลเมือง ตลอดจนจิตสำนึกผ่านการเรียนรู้ประวัติศาสตร์
3.ประเภทความร่วมมือ เป็นการให้ทุนเพื่อสนับสนุนหน่วยงานหรือองค์กรที่ขับเคลื่อนภารกิจภายใต้วัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
สำหรับการขอรับการสนับสนุนทุนผลิตสื่อจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดและยื่นข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ www.thaimediafund.or.th หรือสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-273-0116-9 หรือที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ “กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” ตั้งแต่วันนี้-19 ก.พ. 2564 เวลา 16.30 น.