ผู้ดูแลและผู้ช่วยคนพิการ

1. การเป็นผู้ดูแลคนพิการ

ผู้ดูแลคนพิการ หมายถึง บิดา มารดา บุตร สามี ภรรยา ญาติ พี่น้อง หรือบุคคลอื่นใดที่รับดูแลหรืออุปการะคนพิการ

คุณสมบัติของผู้ดูแลคนพิการที่มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือ ดังต่อไปนี้

• เป็นผู้ดูแลคนพิการซึ่งมีชื่ออยู่ในบัตรประจำตัวคนพิการ หรือในระบบฐานข้อมูลคนพิการอิเล็กทรอนิกส์

• มีหนังสือรับรองจากผู้แทนองค์กรด้านคนพิการ กำนันผู้ใหญ่บ้าน ประธานชุมชน อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา ข้าราชการระดับปฏิบัติการหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือผู้บริหารศูนย์บริการคนพิการทั่วไปในท้องถิ่นที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา หรือหน่วยบริการในพื้นที่ หรือมีหลักฐานเชื่อได้ว่าเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนพิการจริง

หน้าที่ของผู้ดูแลคนพิการ ดูแลให้คนพิการได้รับปัจจัยสี่ ส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิ การคุ้มครองสวัสดิภาพ สุขภาวะ การศึกษา อาชีพ การออกสู่สังคม ให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตลอดจนส่งเสริมให้คนพิการมีคุณธรรม จริยธรรม และเจริญเติบโตเป็นพลเมืองดี

สิทธิของผู้ดูแลคนพิการ

1. การบริการให้คำปรึกษา แนะนำ หรือฝึกอบรมทักษะการเลี้ยงดูคนพิการ

2. การบริการให้คำปรึกษา หรือการดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องในทางคดีด้านถูกกระทำความรุนแรง หรือการแก้ไขปัญหาครอบครัวหรือการดูแลคนพิการ

3. การได้รับการสนับสนุนเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศ บริการโทรคมนาคมและบริการสื่อสาธารณะ เครื่องช่วยหรืออุปกรณ์ที่จำเป็น เพื่อสนับสนุนการฝึกทักษะทางพัฒนาการแก่คนพิการในการดูแลตามความจำเป็นพิเศษของคนพิการรายกรณี

4. การได้รับความรู้ด้านอาชีพ การส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ หรือผลิตภัณฑ์ สินค้า หรือบริการ หรือการสนับสนุน ส่งเสริม ให้สามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุแบบเจาะจงตามประเภทการส่งเสริมวิสาหกิจและการประกอบอาชีพ หรือการส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งในการประกอบอาชีพอิสระสู่การเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม หรือสนับสนุนการรวมกลุ่มเพื่อประกอบอาชีพคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ การใช้สิทธิในการทำงานในสถานประกอบการ การฝึกอาชีพ การสนับสนุนเงินทุนประกอบอาชีพ การมีงานทำ การได้รับสิทธิตามมาตรา 35

5. การช่วยเหลือคนพิการและผู้ดูแลคนพิการเป็นเงินหรือสิ่งของ หรือการเข้าพักในศูนย์พักพิง ศูนย์พักคอย โรงพยาบาลสนาม ซึ่งได้รับผลกระทบจากการประสบสาธารณภัย หรือภัยโรคติดต่ออันตราย หรือภัยจากสถานการณ์วิกฤติต่างๆ หรือมีฐานะความเป็นอยู่ที่ยากจน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดูแลหรืออุปการะคนพิการ

6. การให้ได้รับความสะดวก การยกเว้น หรือการลดหย่อน ค่าโดยสารยานพาหนะตามความเหมาะสม หรือการเข้าร่วม เข้าชม สถานที่ของรัฐ เช่น กิจกรรมการกีฬา และนันทนาการ หรือการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม โดยจะต้องมีการจัดช่องทางพิเศษในการเข้าถึงสำหรับคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ ตามประกาศกำหนด และการลดหย่อนภาษีตามกฎหมายกำหนด

7. การให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

2. การขอเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการ 

คนพิการสามารถแจ้งขอมีผู้ดูแลคนพิการได้โดยระบุชื่อผู้ดูแลในบัตรประจำตัวคนพิการ ทั้งนี้ผู้ดูแลคนพิการต้องเป็นผู้ซี่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกับคนพิการ หรือเป็นผู้ดูแลซี่งคนพิการอาศัยอยู่ด้วยตามความเป็นจริง กรณีคนพิการมิได้มาแจ้งหรือไม่สามารถแจ้งได้ ให้มีหนังสือจากข้าราชการ ลูกจ้างประจํา พนักงานราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ สมาชิกสภาท้องถิ่น กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือประธานชุมชนแห่งนั้นรับรองว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ดูแลคนพิการจริง ทั้งนี้ผู้ดูแลคนพิการ มีชื่ออยู่ในบัตรประจำตัวคนพิการได้เพียง 1 คน 

เอกสารที่ใช้ยื่นขอเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการ 

1) เอกสารของผู้ดูแลคนพิการ  

• บัตรประจำตัวชาชนของผู้ดูแล  

• ทะเบียนบ้านของผู้ดูแล 

2) หนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลคนพิการ 1 ฉบับ โดย กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ สมาชิกสภาท้องถิ่น ประธานชุมชน ลูกจ้างประจํา (หน่วยงานราชการ, รัฐวิสาหกิจ) โดยผู้รับรองต้องอาศัยอยู่หรือปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เดียวกับที่คนพิการอาศัยอยู่ในปัจจุบัน ในกรณีที่อยู่คนละทะเบียนบ้าน 

3) บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของผู้รับรอง พร้อมรับรองสําเนา 1 ฉบับ 

หมายเหตุ  

* ข้าราชการบำนาญ ไม่สามารถรับรองได้ 

* การรับรองต้องมีพยานลงนามให้ครบถ้วน 

* การรับรองอันเป็นเท็จมีความผิดตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญา 

สถานที่ติดต่อ

กรุงเทพมหานคร :  

  • ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร โทร: 02 354 4542 
  • ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร สาขาลาดกระบัง โทร: 02 364 7772 
  • ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร สาขาสายไหม โทร: 065 504 1494 
  • ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร สาขามีนบุรี โทร: 02 136 7288 
  • ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร สาขาอ้อมน้อย โทร: 02 136 7288 

ต่างจังหวัด 

  • ศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัดทุกจังหวัด  
  • สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ทุกจังหวัด 

3. การขอเปลี่ยนผู้ดูแลคนพิการ 

ผู้ดูแลคนพิการ คือ บิดา มารดา บุตร สามี ภรรยา ญาติพี่น้อง หรือบุคคลอื่นใดที่รับดูแลหรืออุปการะคนพิการ โดยคนพิการสามารถดำเนินการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลคนพิการได้หลังจากรับบัตรประจำตัวคนพิการไปแล้ว 1 ปี โดยคนพิการต้องยินยอม และนำเอกสารทั้งผู้ดูแลคนเดิมและคนใหม่ข้างต้น นำมายื่นเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลคนพิการ 

เอกสารที่ใช้ยื่นขอเปลี่ยนผู้ดูแลคนพิการ  

1.เอกสารของคนพิการที่จะขอเปลี่ยน ได้แก่ 

  • บัตรประจำตัวคนพิการฉบับเดิมตัวจริง 

2.เอกสารของผู้ดูแลคนพิการรายใหม่ ได้แก่

  • บัตรประชาชนของผู้ดูแล  
  • ทะเบียนบ้านของผู้ดูแล 

3.ใบมอบอำนาจจากคนพิการ (กรณีไม่ใช่ญาติสายตรงและคนละนามสกุล) 

4.หนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลคนพิการและบัตรประจำตัวผู้รับรอง 

5.ใบเปลี่ยนชื่อ – เปลี่ยนนามสกุล (ถ้ามี)  

6.ใบมรณะ กรณีผู้ดูแลคนเก่าเสียชีวิต (ถ้ามี) 

สถานที่ติดต่อ  

กรุงเทพมหานคร :

  • ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร โทร: 02 354 4542 
  • ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร สาขาลาดกระบัง โทร: 02 364 7772 
  • ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร สาขาสายไหม โทร: 065 504 1494 
  • ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร สาขามีนบุรี โทร: 02 136 7288 
  • ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร สาขาอ้อมน้อย โทร: 02 136 7288 

ต่างจังหวัด

  • ศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัดทุกจังหวัด  
  • สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ทุกจังหวัด 

สอบถามเพิ่มเติมที่ สายด่วนคนพิการ โทร 1479

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *