สิทธิการการศึกษา

1. การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย (กศน.)

คนพิการสามารถเข้ารับการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้ที่สนใจจะเรียนหนังสือ โดยเป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่นๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลายที่นำไปสู่การเรียนรู้ 

คุณสมบัติผู้สมัครเรียน 

  1. เป็นบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย  
  2. เป็นบุคคลพ้นเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ หรืออายุ 16 ปีขึ้นไป (นักเรียนที่อายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และยังไม่จบการศึกษาภาคบังคับนั้น สามารถเรียน กศน. ได้ แต่ต้องมีหนังสือส่งตัวจากเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อจัดการเรียนการสอนให้มีระยะเวลาเท่ากับเด็กวัยเดียวกัน และต้องเรียนครบจำนวนหน่วยกิต ตามโครงสร้างหลักสูตรของ กศน.) 
  3. ไม่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาในระบบโรงเรียนหรือนอกระบบโรงเรียน 

เอกสารในการสมัครเรียน 

  1. รูปถ่าย 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป 
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน 
  3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 
  4. สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ 
  5. ใบเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล (ถ้ามี) 
  6. วุฒิการศึกษาเดิม หรือ ใบแสดงผลการเรียน 

ติดต่อสอบถาม  

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กระทรวงศึกษาธิการ  

319 วังจันทรเกษม ถนนราชดำเนินนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทรศัพท์ 02-866-2830 – 33  

สถานที่สมัคร : ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาค ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอหรือกิ่งอำเภอ และศูนย์การเรียนชุมชน ทุกแห่งทั่วประเทศ  

2. ทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี 

คนพิการสามารถขอรับทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี จากกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ซึ่งมีนโยบายสนับสนุนให้คนพิการได้เข้าศึกษาในอุดมศึกษาตามโครงการสนับสนุนอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรี

โดยจัดให้มีแบบแสดงความจำนงขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษา เพื่อนิสิตนักศึกษาพิการ ได้รับสิทธิและโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม โดยเพิ่มสิทธิและโอกาสที่จะได้รับบริการความช่วยเหลือทางการศึกษาจากรัฐเป็นพิเศษ รวมถึงสิทธิที่จะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาอีกด้วย

ทั้งนี้ การขอรับการสนับสนุนเงินอุดหนุนการศึกษาเป็นความสมัครใจของนักศึกษาพิการในการขอรับสิทธิ และรัฐบาลสนับสนุนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษาไม่ใช่สนับสนุนให้คนพิการ โดยกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายที่ให้อุดหนุนไม่เกินขอบเขตที่กำหนดไว้ และนักศึกษาต้องมีคุณสมบัติครบตามกำหนด 

รายการเงินอุดหนุนการศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย ค่าเล่าเรียน ค่าบำรุงค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นในทุกหลักสูตร ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราบาท/ราย/ปี ดังนี้ 

  1. สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ อัตรา 60,000 บาท 
  2. ศิลปกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ อัตรา 60,000 บาท 
  3. วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อ้ตรา 70,000 บาท 
  4. เกษตรศาสตร์ อัตรา 70,000 บาท 
  5. สาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ อัตรา 90,000 บาท 
  6. แพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ อัตรา 200,000 บาท   

คุณสมบัติของผู้ขอรับทุนการศึกษา 

  1. เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ 
  2. ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยในหลักสูตรระดับอนุปริญญาหรือระดับปริญญาตรี เป็นปริญญาใบแรกเท่านั้น 
  3. ไม่เคยได้รับการอุดหนุนทางการศึกษาตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในหลักสูตรระดับปริญญาตรีมาก่อนและไม่ศึกษาเป็นปริญญาที่สอง 
  4. ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ อัตรา และรายการที่ให้การอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา  

เอกสารที่ต้องใช้ 

  1. เอกสารและหลักฐานประกอบการขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับนิสิต นักศึกษาพิการ ในระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี  
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 
  3. สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ หรือสมุดประจำตัวผู้พิการ(หน้าที่ระบุลักษณะความพิการและวันหมดอายุ ) 
  4. สำเนาบัตรประจำตัวนักศึกษา 

ติดต่อสอบถาม  

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 

ที่อยู่ 328 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400  

โทร. 0 2 610 5200 โทรสาร. 0 2 354 5524-6

3. บริการค่ายานพาหนะไปเรียนหนังสือ 

คนพิการสามารถเบิกค่ายานพาหนะไปเรียนหนังสือ โดยสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินอุดหนุนเพื่อให้สถานศึกษาในสังกัดใช้จ่ายในการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการศึกษาให้คนพิการ และเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุด

ค่าพาหนะสำหรับนักเรียนที่เดินทางไปยังสถานศึกษาและหรือแหล่งเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่  

  1. ค่าพาหนะนำนักเรียนไปยังแหล่งเรียนรู้ 
  2. ค่าพาหนะนักเรียนห่างไกลสถานศึกษาเกิน 3 กิโลเมตร 
  3. ค่าพาหนะนักเรียนกรณียุบรวมโรงเรียนไปยังสถานศึกษาใหม่การเบิกจ่ายเงินค่าพาหนะนักเรียน 

นักเรียนพิการขอรับการอุดหนุนเป็นค่าพาหนะ โดย 2 วิธี ได้แก่   

  1. วิธีจ่ายให้นักเรียนโดยตรง ได้แก่ สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการอย่างน้อย 3 คน ร่วมกันจ่ายเงิน และใช้ใบสําคัญรับเงินเป็นหลักฐานการจ่าย 
  2. วิธีการจ้างเหมายานพาหนะรับ – ส่งนักเรียน โดยดําเนินการตามวิธีจัดจ้างตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เช่น ค่าจ้างเหมายานพาหนะรับส่งนักเรียนโรงเรียนยุบรวมหรือเรียนรวม หรือไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ เป็นต้น 

ติดต่อสอบถาม  

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 

โทรศัพท์: 0 2288 5555 โทรสาร: 0 2280 7045 

4. การศึกษาภาคบังคับและขั้นพื้นฐาน 

คนพิการที่สมัครเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับและขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป สามารถเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษตั้งแต่แรกเกิดหรือเมื่อพบความพิการ และได้รับบริการสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสำหรับคนพิการ ตามความจำเป็นและเหมาะสมอย่างทั่วถึง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนจนถึงปริญญาตรี ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสร้างความเข้มแข็งให้โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม เพื่อพัฒนาจากการจัดการศึกษาเรียนร่วมไปสู่การจัดการศึกษาเรียนรวม (Inclusive Education)

เพื่อให้เด็กพิการได้รับการประเมินความสามารถพื้นฐาน การคัดกรองนักเรียนด้านการอ่าน การเขียน และคิดคำนวณ เพื่อร่วมกันจัดกระบวนการเรียนรวมให้มีประสิทธิภาพ โดยให้ศูนย์การศึกษาพิเศษเป็นหน่วยสนับสนุนการจัดการเรียนรวม การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ มุ่งพัฒนาเด็กพิการในโรงเรียนให้มีความรู้ความสามารถ ส่งเสริมให้มีการนำสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก บริการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ สนองความแตกต่างระหว่างบุคคลตามความเหมาะสมกับวัยและสภาพความพิการของแต่ละบุคคล 

เอกสารที่ต้องใช้ 

  1. สำเนาทะเบียนบ้านของนักเรียน พร้อมของบิดามารดา 
  2. สำเนาสูติบัตรของนักเรียน 
  3. รูปถ่ายของนักเรียน 
  4. เอกสารใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี) 
  5. เอกสารบัตรประจำตัวคนพิการ 
  6. เอกสารรับรองจากสถานศึกษาที่ผ่านมาในเบื้องต้น (ถ้ามี) 
  7. เอกสารสำคัญอื่นๆ  

ติดต่อสอบถาม  

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)  

319 กระทรวงศึกษาธิการ ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300  

โทร. 0-2288-5926 , 0-2288-5945  

5. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด

คนพิการสมัครเข้ารับบริการ โดยผู้ปกครองสามารถนำบุตรหลานที่มีพัฒนาการไม่สมวัยหรือพิการทุกประเภทเข้ารับบริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด จำนวน 77 แห่งทั่วประเทศ โดยศูนย์การศึกษาพิเศษ มีบทบาทดังนี้   

  1. จัดและส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาในลักษณะศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention: EI) และเตรียมความพร้อมของคนพิการ เพื่อเข้าสู่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล โรงเรียนเรียนร่วม โรงเรียนเฉพาะความพิการ ศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  
  2. พัฒนา และฝึกอบรมผู้ดูแลคนพิการ บุคลากรที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ  
  3. จัดระบบและส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสำหรับคนพิการ  
  4. จัดระบบบริการช่วงเชื่อมต่อสำหรับคนพิการ (Transitional Services) 
  5. ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยครอบครัวและชุมชน ด้วยกระบวนการทางการศึกษา 
  6. เป็นศูนย์ข้อมูลรวมทั้งจัดระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาสำหรับคนพิการ 
  7. จัดระบบสนับสนุนการจัดการเรียนร่วม และประสานงานการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ 
  8. ภาระหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

หลักฐานการขอรับบริการ 

1. สำเนาทะเบียนบ้าน 

2. รูปถ่าย 2 นิ้ว หรือ 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป 

3. สำเนาสูติบัตร 

4. เอกสารรับรองความพิการ 

5. บัตรประจำตัวคนพิการ 

6. เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

ติดต่อสอบถาม

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 

โทรศัพท์: 0 2288 5555 โทรสาร: 0 2280 7045 

6. การศึกษาสายอาชีพ  

คนพิการสามารถเข้ารับการศึกษาสายอาชีพ โดยเน้นให้ผู้เรียนที่จบการศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพ หรือสมัครงานตามสาขานั้นๆ ได้ ซึ่งถือว่าผู้ที่เรียนจบสาขาวิชานั้นๆ เป็นผู้มีความรู้พื้นฐานสำหรับประกอบอาชีพนั้นๆ ได้ เช่น  

  1. หลักสูตร ปวช. คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ เป็นระดับการฝึกวิชาชีพระดับพื้นฐานในงานสายอาชีพนั้นๆ ซึ่งมีความรู้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ตามความรู้ที่เรียน
  2. หลักสูตร ปวส. คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เป็นระดับความรู้ที่สูงขึ้นจาก ปวช. โดยเน้นความรู้เฉพาะ มากขึ้นมีความรู้ความชำนาญพิเศษมากขึ้น

การศึกษาระดับสายอาชีพสามารถศึกษาต่อได้ถึงระดับสูงสุดเท่ากับการศึกษาสายสามัญ คือ ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ซึ่งเป็นการพัฒนาการศึกษาตามลำดับขั้นสำหรับผู้สนใจศึกษาต่อระดับสูงขึ้นไปเพื่อยกระดับความรู้ความสามารถ

คนพิการที่สมัครเรียนสายอาชีพ ควรมีคุณสมบัติเป็นผู้มีความรู้พื้นฐานระดับมัธยมต้นหรือเทียบเท่า เป็นผู้มีความสนใจศึกษาสายอาชีพ ต้องการประกอบอาชีพตามสาขา เป็นผู้มีระเบียบวินัยในตนเอง ชอบแสวงหาความรู้ เคารพและศรัทธาต่อสถาบันการศึกษาที่เรียน

เอกสารที่ใช้ในการสมัครเรียน 

  1. เอกสารระเบียนแสดงผลการเรียน (รบ. หรือ ปพ.1) 
  2. สำเนาบัตรประชาชน 
  3. สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ  
  4. สำเนาทะเบียนบ้าน 
  5. สำเนาสูติบัตร 
  6. รูปถ่าย 
  7. เอกสารบัตรประจำตัวประชาชนของบิดา มารดา  

ติดต่อสอบถาม   

สถานศึกษาที่เปิดสอนสายอาชีพมีทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สารพัดช่าง วิทยาลัยเทคนิค โรงเรียนพาณิชการ วิทยาลัยการอาชีพ และมหาวิทยาลัยราชมคล เป็นต้น

สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)  กระทรวงศึกษาธิการ

เลขที่ 319 ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ 02-026-5555 ต่อ 5000

7. คูปองการศึกษา 

บัตรประจำตัวผู้เรียนที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ใช้แทนเงินงบประมาณที่รัฐสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายรายหัวให้ผู้เรียนนำไปแสดงต่อสถานศึกษา หรือหน่วยจัดการศึกษาเพื่อเป็นค่าเล่าเรียน/ฝึกอบรม ตามรูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย แต่ทดลองเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาขอรับการอุดหนุนตามระบบคูปองการศึกษาให้กับเด็กนักเรียนพิการ ไม่เกินคนละ 2,000 บาท 

รายการสิ่งอำานวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา แบ่งรายการเป็น 3 บัญชี ได้แก่ บัญชี ก. เป็นอุปกรณ์สำหรับการขอยืม บัญชี ข. หรือบัญชี ค. เป็นสิ่งอำานวยความสะดวก สื่อ ความช่วยเหลืออื่นใดสำหรับการขอรับการอุดหนุนภายในวงเงินที่กำาหนด โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ 

  1. ขอรับเงินอุดหนุนเป็นรายการสื่อบัญชี ข ทั้ง 2,000 บาท 
  2. ขอรับเงินอุดหนุนเป็นรายการสื่อบัญชี ค ไม่เกิน 2,000 บาท 
  3. ขอรับเงินอุดหนุนเป็นรายการสื่อบัญชี ค ไม่เกิน 1,000 บาท ที่เหลือเป็นรายการสื่อบัญชี ข

รายการบัญชี ก. ได้แก่

  1. อุปกรณ์ช่วยการเห็น (Visual Aids)
  2. อุปกรณ์ช่วยการได้ยิน (Hearing Devices)
  3. อุปกรณ์ช่วยการเขียน (Writing Aids)
  4. อุปกรณ์ช่วยการอ่าน (Reading Aids)
  5. เครื่องช่วยการจัดท่าทางและที่นั่ง (Positioning and Seating)
  6. คอมพิวเตอร์และการใช้งานคอมพิวเตอร์ (Computer and Computer Access)
  7. อุปกรณ์ช่วยการสื่อสาร (Communication Aids)
  8. อุปกรณ์พลศึกษาและนันทนาการ (Physical and Recreation Aids)
  9. สื่อการเรียนรู้ (Educational Tools)

รายการบัญชี ข. ได้แก่

  1. อุปกรณ์ช่วยการได้ยิน (Hearing Devices)
  2. อุปกรณ์ช่วยการเขียน (Writing Aids)
  3. อุปกรณ์ช่วยการอ่าน (Reading Aids)
  4. อุปกรณ์ช่วยการดำาเนินชีวิตประจำาวัน (Daily Living Aids)
  5. คอมพิวเตอร์และการใช้งานคอมพิวเตอร์ (Computer and Computer Access)
  6. อุปกรณ์ช่วยการสื่อสาร (Communication Aids)
  7. อุปกรณ์ช่วยการเคลื่อนที่ (Mobility Aids)
  8. สื่อการเรียนรู้ (Educational Tools)
  9. อุปกรณ์พลศึกษาและนันทนาการ (Physical and Recreation Aids)

รายการบัญชี ค. เป็นการบริการ (Services) แบ่งเป็น 19 บริการ ได้แก่

  1. การสอนเสริม
  2. การอ่านหนังสือ เอกสาร หรือข้อสอบ
  3. การนำทาง
  4. การผลิตสื่อ
  5. การจดคำบรรยาย
  6. การซ่อมสื่อ
  7. กายภาพบำบัด
  8. การแก้ไขการพูดและทักษะการสื่อสาร
  9. กิจกรรมบำบัด
  10. ล่ามภาษามือ
  11. การอบรมทักษะพื้นฐาน
  12. การแนะแนวการศึกษา
  13. พี่เลี้ยงและผู้ช่วยเหลือ
  14. ดนตรีบำบัด และดนตรีเพื่อพัฒนา
  15. การพยาบาล
  16. การซ่อมและปรับปรุงแก้ไขอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ
  17. พฤติกรรมบำบัด และการแก้ไขพฤติกรรม
  18. ศิลปะบำบัด และศิลปะเพื่อการพัฒนา
  19. การประเมินพัฒนาการ การประเมินทางจิตวิทยา และทักษะด้านต่างๆ

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.lampangsec.go.th/images/pdf/file_vichakan/manual61.pdf

ติดต่อสอบถาม  

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 

โทรศัพท์: 0 2288 5555 โทรสาร: 0 2280 7045

8. สถานศึกษาเฉพาะความพิการ (สติปัญญา/ออทิสติก) 

การศึกษาพิเศษเน้นการเพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด เนื้อหาหลักสูตรเน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ชีวิตประจําวันควบคู่ไปกับทักษะทางวิชาการ การศึกษาพิเศษมีการจัดการศึกษาและบริการเพื่อสนับสนุนให้กับบุคคลที่มีความต้องการทางการศึกษาเป็นพิเศษ 3 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มเด็กที่มีความสามารถพิเศษ
  2. กลุ่มเด็กพิการที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้
  3. กลุ่มด้อยโอกาสและต้องได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษ 

เอกสารที่ใช้ในการสมัครเรียน 

  1. สำเนาบัตรประชาชนนักเรียน/บิดา/มารดา 
  2. สำเนาบัตรคนพิการนักเรียน 
  3. สำเนาทะเบียนบ้านนักเรียน/บิดา/มารดา 
  4. วุฒิการศึกษา 
  5. ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลนักเรียน/บิดา/มารดา (ถ้ามี) 
  6. ใบรับรองแพทย์ 
  7. สูติบัตร 
  8. รูปถ่าย 1 นิ้ว จำนวน 3 รูป 

ติดต่อสอบถาม  

โรงเรียนนครราชสีมาปัญญานุกูล จังหวัดนครราชสีมา (รับประเภทความพิการทางสติปัญญา)

ที่อยู่ 72/23 ซอยมิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000 

โทรศัพท์044-214983 โทรสาร 044-214984 

Website:www.nmpschool.ac.th  Email: nmp_korat@hotmail.co.th 

โรงเรียนเชียงรายปัญญานุกูล จังหวัดเชียงราย (รับประเภทความพิการการทางสติปัญญา ช่วงอายุ 6-18 ปี)

ที่อยู่ 210 หมู่ 20 ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย 57000 ตู้ ปณ. 175 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57000 

โทรศัพท์ 053-2020351 โทรสาร 053-2020352 

Website: www.crp.ac.th  Email: chiangraipanya@hotmail.com  

โรงเรียนชุมพรปัญญานุกูล จังหวัดชุมพร (รับประเภทความพิการทางสติปัญญา)

ที่อยู่ 57 หมู่ 1 ตำบลสะพลี อ.ปะทิว จ.ชุมพร 86230 

โทรศัพท์ 077-622784  โทรสาร 077-622784 

Website: www.chumphonpanyanukul.com  Email: chumporn.panya@hotmail.com  

โรงเรียนกาวิละอนุกูล จังหวัดเชียงใหม่ (สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ออทิสติก และพิการซ้อน)  

ที่อยู่ 2/2 ถนนสันนาลุง ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000 

โทรศัพท์ 053-244770 โทรสาร 053-240063 

Website: www.kawila-anukul.ac.th  Email: info@kawila-anukul.ac.th  

โรงเรียนกาฬสินธุ์ปัญญานุกูล จังหวัดกาฬสินธุ์ (รับประเภทความพิการทางสติปัญญา) 

ที่อยู่ 169 หมู่ที่ 13 ถนนชลประทาน ต.ดอนสมบูรณ์ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ 46120 

โทรศัพท์ 043-840842 โทรสาร 043-840847 

Email: klspanyanukul@gmail.com  

โรงเรียนนครศรีธรรมราชปัญญานุกูล จังหวัดนครศรีธรรมราช (รับประเภทความพิการทางสติปัญญา) 

ที่อยู่ 147 ถนนทุ่งสง-นาบอน ต.หนองหงส์ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช 80110 

โทรศัพท์ 075-302198 โทรสาร 075-302196 

Email: nakhonpanya@hotmail.co.th  

โรงเรียนนครสวรรค์ปัญญานุกูล จังหวัดนครสวรรค์ (รับประเภทความพิการทางสติปัญญา) 

ที่อยู่ 280 หมู่ 8 ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000 

โทรศัพท์ 056-245124   โทรสาร 056-245125 

Website: www.school.obec.go.th/NakonSawansp  Email: Nkw_panyanukul@hotmail.com  

โรงเรียนน่านปัญญานุกูล จังหวัดน่าน (รับประเภทความพิการทางสติปัญญา) 

ที่อยู่ 103 หมู่ที่ 15 ต.ฝายแก้ว อ.ภูเพียง จ.น่าน 55000 

โทรศัพท์ 054-601075 โทรสาร 054-601023 

Website: www.nanpanya.ac.th  Email: Nanpanyanukul@yahoo.com  

โรงเรียนพิจิตรปัญญานุกูล จังหวัดพิจิตร (รับประเภทความพิการทางสติปัญญา) 

ที่อยู่ 150 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านบุ่ง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร 66000 

โทรศัพท์ 056-685144   โทรสาร 056-685144 

Email: panya.phichit@gmail.com  

9. โรงเรียนเฉพาะความพิการ

การจัดการศึกษาแบบโรงเรียนเฉพาะความพิการ เป็นรูปแบบในการให้การศึกษาโดยจัดการศึกษาสาหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภท โรงเรียนศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ เป็นการจัดการศึกษาในรูปแบบของโรงเรียนศึกษาพิเศษเฉพาะประเภทความพิการแต่ละประเภทโดยจัดในทุกระดับตั้งแต่ชั้นเรียนเตรียมความพร้อมก่อนประถมศึกษา และมัธยมศึกษา มีทั้งการศึกษาสายสามัญและสายอาชีพ มีการจัดทำหลักสูตรเฉพาะประเภทความพิการที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของแต่ละกลุ่ม มีการจัดการโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล การมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญ รวมทั้งมีสื่อ เทคโนโลยีสิ่งอานวยความสะดวกและบริการที่เพียงพอและมีคุณภาพ

ติดต่อสอบถาม

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ

10. การเรียนรวม 

การศึกษาแบบเรียนรวม คือ การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการ และวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และพัฒนาการตามความต้องการจำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล 

ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม แตกต่างจากรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปกติ ซึ่งจะต้องถือหลักการ ดังนี้ 

  1. เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน 
  2. เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน 
  3. โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน 
  4. โรงเรียนจะต้องให้บริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่างๆ ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน 
  5. โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด 

เอกสารในการสมัครเรียน 

  1. ใบสมัคร 
  2. รูปถ่ายขนาด 1.5 นิ้ว จำนวน 2 รูป 
  3. สำเนาสูติบัตรผู้สมัคร จำนวน 2 ฉบับ 
  4. สำเนาทะเบียนบ้านผู้สมัคร จำนวน 2 ฉบับ 
  5. สำเนาบัตรประชาชนผู้สมัคร จำนวน 2 ฉบับ 
  6. สำเนาทะเบียนบ้านผู้ปกครอง จำนวน 2 ฉบับ 
  7. สำเนาบัตรประชาชนผู้ปกครอง จำนวน 2 ฉบับ 
  8. หลักฐานการจบการศึกษา (หนังสือย้าย) 
  9. เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น สำเนาการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล 

ติดต่อสอบถาม

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
ศูนย์สารนิเทศการศึกษาขั้นพื้นฐาน 0-2288-5511-5 โทรสาร 0-2288-5886
สายด่วนกระทรวงศึกษาธิการ 1579

11. สถานศึกษาเฉพาะความพิการ (หูหนวก) 

เพื่อช่วยเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีโอกาสได้เข้าเรียนในโรงเรียน เพื่อฝึกความพร้อมและปูพื้นฐานทางภาษาเบื้องต้นให้กับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ความพร้อมทางด้านการฟัง การพูด การใช้ภาษาในการติดต่อกับผู้อื่นได้บ้าง เพื่อเป็นประโยชน์แก่ชีวิตประจำวันของการอยู่ร่วมกันในสังคม และจัดการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ 

เอกสารที่ใช้ในการสมัครเรียน 

  1. สำเนาบัตรประชาชนนักเรียน/บิดา/มารดา 
  2. สำเนาบัตรคนพิการนักเรียน 
  3. สำเนาทะเบียนบ้านนักเรียน/บิดา/มารดา 
  4. วุฒิการศึกษา 
  5. ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุลนักเรียน/บิดา/มารดา (ถ้ามี) 
  6. ใบรับรองแพทย์ 
  7. สูติบัตร 
  8. รูปถ่าย 1 นิ้ว จำนวน 3 รูป 

ติดต่อสอบถาม  

โรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร (สำหรับคนพิการทางการได้ยิน ช่วงอายุ 6-15 ปี)

ที่อยู่ 6 ถนนโสตศึกษา ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 

โทรศัพท์ 053-222475 โทรสาร 053-357177 

Website www.anusan-deaf.ac.th  Email: anusarnsunthorn_cm@hotmail.com  

โรงเรียนโสตศึกษาเทพรัตน์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (สำหรับคนพิการทางการได้ยิน ช่วงอายุ 6-15 ปี)

ที่อยู่ 2 หมู่ 9 ต.พงศ์ประศาสน์ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77140 

โทรศัพท์ 032-817128 โทรสาร 032-817129 

Website www.tprs.ac.th  Email : tprsSchool@gmail.com  

โรงเรียนโสตศึกษาปานเลิศ จังหวัดลพบุรี (สำหรับคนพิการทางการได้ยิน จัดการศึกษาพิเศษ ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนรับช่วงอายุ 6-15 ปี) 

ที่อยู่ โสตศึกษาปานเลิศ ต.บางกระพี้ อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี 15110 

โทรศัพท์ 036-700101-2   โทรสาร 036-700101-2  

Email: PanlertSchool@gmail.com  

12. สถานศึกษาเฉพาะความพิการ (ร่างกาย) 

พัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ ควบคู่กับการฟื้นฟูทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมสติปัญญา และการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริม และพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของบุคลากร เพื่อเตรียมพร้อมสู่อาเซียน 

เอกสารที่ใช้ในการสมัครเรียน 

  1. สำเนาบัตรประชาชนนักเรียน/บิดา/มารดา 
  2. สำเนาบัตรคนพิการนักเรียน 
  3. สำเนาทะเบียนบ้านนักเรียน/บิดา/มารดา 
  4. วุฒิการศึกษา 
  5. ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุลนักเรียน/บิดา/มารดา (ถ้ามี) 
  6. ใบรับรองแพทย์ 
  7. สูติบัตร 
  8. รูปถ่าย 1 นิ้ว จำนวน 3 รูป 

สถานศึกษาเฉพาะสำหรับผู้พิการทางร่างกายในประเทศไทย

  1. โรงเรียนศรีสังวาลย์ นนทบุรี
    • ที่อยู่: 78 หมู่ 1 ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120
    • โทรศัพท์: 02-583-8395
  2. โรงเรียนศรีสังวาลย์ เชียงใหม่
    • ที่อยู่: 1 หมู่ 4 ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
    • โทรศัพท์: 053-221-494
  3. โรงเรียนศรีสังวาลย์ ขอนแก่น
    • ที่อยู่: 244 หมู่ 3 ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
    • โทรศัพท์: 043-246-070
  4. โรงเรียนศรีสังวาลย์ นครศรีธรรมราช
    • ที่อยู่: 174 หมู่ 6 ต.ปากนคร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000
    • โทรศัพท์: 075-340-060

13. สถานศึกษาเฉพาะความพิการ

สถานศึกษาของรัฐหรือเอกชนที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ ทั้งในลักษณะอยู่ประจำ ไป-กลับ และรับบริการที่บ้านให้สถานศึกษาของรัฐและเอกชนที่จัดการเรียนร่วม สถานศึกษาเอกชนการกุศลที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ และศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ได้รับเงินอุดหนุนและความช่วยเหลือเป็นพิเศษจากรัฐ

เอกสารที่ใช้ในการสมัครเรียน 

  1. สำเนาบัตรประชาชนนักเรียน/บิดา/มารดา 
  2. สำเนาบัตรคนพิการนักเรียน 
  3. สำเนาทะเบียนบ้านนักเรียน/บิดา/มารดา 
  4. วุฒิการศึกษา 
  5. ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุลนักเรียน/บิดา/มารดา (ถ้ามี) 
  6. ใบรับรองแพทย์ 
  7. สูติบัตร 
  8. รูปถ่าย 1 นิ้ว จำนวน 3 รูป 

ติดต่อสอบถาม

วิทยาลัยเทคโนโลยี พระมหาไถ่ พัทยา 

อาจารย์มงคล จินาวรณ์ (สมัครเรียน)  

ที่อยู่: 440 ม.9 ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20150  

โทร : 086-616-3501 ( อาจารย์มงคล ) มือถือ: 089-403-5950 โทรสาร: 038-411-329 

Email: schoolinfo@mahatai.org 

https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSdddkYQ5iU9DP06Ls3YoIlE6ynx02l0Y9nU1xr_EZD6f5WSQ/viewform

โรงเรียนสอนคนตาบอดพระมหาไถ่ พัทยา ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 

ที่อยู่: 285/103 หมู่ที่ี่ 5 ซอยนาเกลือ 16 ถนนพัทยา – นาเกลือ ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150 

ช่องทางการติดต่อสื่อสาร มูลนิธิคุณพ่อเรย์ สำนักงานต้อนรับ ตั้งอยู่ด้านหน้าศูนย์คณะพระมหาไถ่ ณ หลักกิโลเมตรที่ 145 ถนนสุขุมวิท 

เวลาเปิดทำการ (ทุกวัน) 8.00 น. ถึง 17.00 น.

ที่อยู่: 440 หมู่ 9 (ตู้ ป.ณ. 15, นาเกลือ) ถนนสุขุมวิท 145 ต. หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20150 

โทรศัพท์: 038-428-717 โทรศัพท์มือถือ: 091-717-9089 

Email: info@fr-ray.org  

ไลน์/โทรศัพท์มือถือ: 091-717-9089 

วิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ หนองคาย ในพระราชูปถัมภ์ฯ 

ที่อยู่: 201 หมู่ 4 ซอยดอนแดง 3 ต.มีชัย อ.เมือง จ.หนองคาย 43000 

โทรศัพท์: 042-465-645 

โทรสาร: 042-465-645 

Email: director.nk@mahatai.org

14. การศึกษาระดับอุดมศึกษา

คนพิการสามารถเข้ารับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาจึงมุ่งดำเนินการเรียนการสอนทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ การวิจัยเพื่อแสวงหาข้อมูล ความรู้ใหม่ และพิสูจน์หลักทฤษฎีต่างๆ การบริการชุมชน และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา ซึ่งจะครอบคลุมถึงการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญา

คนพิการที่ประสงค์สมัครเรียนต่อระดับอุดมศึกษา ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

ต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ
สามารถเรียนร่วมกับนักศึกษาอื่นได้ โดยสามารถพูด เขียน อ่านภาษาไทยได้ กรณีความบกพร่องทางการได้ยิน ต้องเขียนอ่าน ภาษาไทย และสามารถสื่อสารด้วยภาษามือได้ หรือความบกพร่องทางการเห็นต้องฟัง พูด ภาษาไทย และเรียนรู้ด้วยอักษรเบรลล์ได้

การสมัครสอบคัดเลือก

การสมัครเข้าศึกษากับมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาภาคปกติและภาคพิเศษ ระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัย
การคัดเลือก ผู้สมัครต้องเข้ารับการสัมภาษณ์จากอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่สมัครและบุคลากรของศูนย์พัฒนามนุษย์และบุคคลที่มีความพิการ เพื่อประเมินความสามารถในการเรียนสาขาวิชาที่สมัคร

เอกสารที่ต้องใช้

สำเนาทะเบียนบ้านของนักเรียน พร้อมของบิดามารดา
สำเนาสูติบัตรของนักเรียน
รูปถ่ายของนักเรียน
เอกสารใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)
เอกสารบัตรประจำตัวคนพิการ
เอกสารรับรองจากสถานศึกษาที่ผ่านมาในเบื้องต้น (ถ้ามี)
เอกสารสำคัญอื่นๆ

ติดต่อสอบถาม

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 328 ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 -2610-5200

15. สถานศึกษาเฉพาะความพิการ (ตาบอด)

เพื่อจัดการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ และส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาศักยภาพและความสามารถทางด้านภาษา ดนตรี กีฬา เทคโนโลยี การทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว ทักษะการใช้ชีวิตอย่างอิสระ ตลอดจนให้ความสำคัญในการสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติ และพฤติกรรม เพื่อให้นักเรียนเติบโตขึ้นไปเป็นประชากรที่มีคุณภาพของประเทศ และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้

เอกสารที่ใช้ในการสมัครเรียน 

  1. สำเนาบัตรประชาชนนักเรียน/บิดา/มารดา 
  2. สำเนาบัตรคนพิการนักเรียน 
  3. สำเนาทะเบียนบ้านนักเรียน/บิดา/มารดา 
  4. วุฒิการศึกษา 
  5. ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุลนักเรียน/บิดา/มารดา (ถ้ามี) 
  6. ใบรับรองแพทย์ 
  7. สูติบัตร 
  8. รูปถ่าย 1 นิ้ว จำนวน 3 รูป 

ติดต่อสอบถาม

โรงเรียนที่จัดการศึกษาสำหรับนักเรียนพิการทางการเห็น จำนวน 16 แห่ง ประกอบด้วย

  1. โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ จังหวัดกรุงเทพฯ โทรศัพท์: 02 354 8365 
  2. โรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา จังหวัดกรุงเทพฯ โทรศัพท์: 02 510 4895 
  3. โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โทรศัพท์: 043 242 098 
  4. โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สาย จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์: 052 029 862 
  5. โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โทรศัพท์: 044 213 581 
  6. โรงเรียนธรรมิกวิทยา จังหวัดเพชรบุรี  โทรศัพท์: 032 561 603 
  7. โรงเรียนการศึกษาเด็กตาบอดพิการซ้ำซ้อนชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โทรศัพท์: 099 099 9290   
  8. โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด  โทรศัพท์: 043 512 989  
  9. โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อนลพบุรี จังหวัดลพบุรี  โทรศัพท์: 086 805 8762  
  10. โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดธรรมสากลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา  โทรศัพท์: 074 384 455  
  11. โรงเรียนคนตาบอดพระมหาไถ่พัทยาในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชลบุรี โทรศัพท์: 086 394 7991 
  12. โรงเรียนสอนคนตาบอดสันติจินตนา จังหวัดแพร่  โทรศัพท์: 054 614 235 
  13. โรงเรียนพัฒนาการศึกษาคนตาบอดและคนพิการลำปาง จังหวัดลำปาง  โทรศัพท์: 054 223 835  
  14. โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่  โทรศัพท์: 053-278009 
  15. โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี  โทรศัพท์: 077 297 720 
  16. โรงเรียนสอนคนตาบอดมกุฎคีรีวัน (เขาใหญ่) จังหวัดนครราชสีมา โทรศัพท์: 093 565 6871 

สอบถามเพิ่มเติมที่ สายด่วนคนพิการ โทร 1479

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *