การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร

📱 1. การให้ยืมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแก่คนพิการ

เอกสารประกอบการขอรับสิทธิ  

กรณีที่คนพิการยื่นเอง 

  1. สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ 
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน 
  3. สำเนาเอกสารการเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี) 

กรณีผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือผู้ดูแลคนพิการ เป็นผู้ยื่นแบบคำขอแทนคนพิการ 

  1. สำเนาบัตรประชาชน  
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน  
  3. สำเนาเอกสารการเปลี่ยนชื่อของคนพิการ (ถ้ามี) 
  4. สำเนาเอกสารการเปลี่ยนชื่อของผู้ยื่นคำขอแทน (ถ้ามี) 
  5. หนังสือมอบอำนาจจากคนพิการ 

รายการอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการยืม 

  1. เครื่องคอมพิวเตอร์  
  2. อุปกรณ์สื่อสาร 
  3. เครื่องช่วยสื่อสารพร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับคนพิการ  
  4. เครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์  
  5. เครื่องสแกนเนอร์  
  6. เครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์  
  7. เครื่องอ่านหนังสือสำหรับคนพิการ  
  8. อุปกรณ์ควบคุมตัวชี้ตำแหน่ง  

รายการอุปกรณ์สำหรับการให้แบบไม่ต้องมีสัญญายืมหรือเสียค่าใช้จ่ายใดๆ 

  1. โปรแกรมสำหรับแปลสื่อสิ่งพิมพ์เป็นอักษรเบรลล์ หรืออักษรเบรลล์เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ 
  2. โปรแกรม์แปลภาพเป็นอักษรและมีเสียงสังเคราะห์  
  3. โปรแกรมขยายหน้าจอ 
  4. โปรแกรมอ่านหนังสือ 
  5. โปรแกรมช่วยในการพิมพ์ 
  6. โปรแกรมพจนานุกรมสำหรับคนพิการ  
  7. โปรแกรมสำหรับมือถือเพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสาร 
  8. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ช่วยในการใช้คอมพิวเตอร์ 
  9. ชุดอุปกรณ์สำหรับการใช้แป้นพิมพ์ 

รายการอุปกรณ์สำหรับการให้ยืมแบบที่ต้องทำสัญญายืมโดยมีระยะเวลาการยืม 1 ปี ได้แก่ 

  1. โทรศัพท์เคลื่อนที่ 
  2. เครื่องช่วยสื่อสารพร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง 
  3. เครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ 
  4. เครื่องสแกนเนอร์ 
  5. เครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์ชนิด 20 เซลล์และชนิด Mini Seika 16 เซลล์ 
  6. อุปกรณ์ควบคุมตัวชี้ตำแหน่ง 

ติดต่อใช้สิทธิได้ที่

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

เบอร์โทร 0 2142 1337 หรือ 0 2141 7042 เวลา 08.00 – 16.00น.

ส่วนภูมิภาค (ต่างจังหวัด) สำนักงานสถิติจังหวัด หรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทุกจังหวัด

📺 2. การเข้าถึงบริการของวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม

สิทธิประโยชน์:

  • โทรทัศน์:
    • มีบริการ คำบรรยาย (Caption) และ ภาษามือ (Sign Language) ในรายการข่าวและรายการสำคัญ
    • เพิ่มช่องทาง เสียงบรรยาย (Audio Description) เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาเข้าใจเนื้อหา
  • โทรคมนาคม:
    • คนพิการสามารถใช้ แพ็กเกจอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์พิเศษ ที่มีราคาถูกหรือไม่มีค่าใช้จ่าย
    • มีบริการ SMS ฟรี สำหรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน

วิธีเข้าถึง:

  1. ตรวจสอบบริการกับผู้ให้บริการ เช่น ช่องโทรทัศน์, ค่ายมือถือ หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
  2. แสดงบัตรคนพิการเพื่อสมัครใช้บริการ

ข้อแนะนำ:

  • หากพบปัญหาการเข้าถึง สามารถร้องเรียนผ่าน กสทช. ได้

📰 3. การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของคนตาบอด

การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของคนตาบอด 

คนพิการตาบอดสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารการให้บริการผ่านระบบต่างๆ ผ่าน “การจัดให้มีบริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่” 4 ช่องทาง ประกอบด้วย 

  1. สายด่วนข่าวสารความรู้ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ หมายเลข 1414 โดยต้องทำการลงทะเบียนตามคำแนะนำของระบบตอบรับอัตโนมัติ 
  2. TAB2READ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต 
  3. TAB RADIO วิทยุบริการการอ่านผ่านเว็บไซต์ https://radio.tab.or.th/ (อยู่ในระหว่างการปรับปรุงประสิทธิภาพ)   
  4. บริการเสียงบรรยายภาพ Audio Description ผ่านทางโทรทัศน์ และการจัดแสดงในที่อื่นๆ 

นอกจากนี้คนพิการตาบอดยังสามารถขอยืมอุปกรณ์ช่วยให้สะดวกในการรับข่าวสารโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 

รายการรอุปกรณ์ช่วยให้สะดวกในการรับข่าวสารที่คนพิการตาบอดสามารถยืมได้ 

  • คอมพิวเตอร์ PC/Notebook 
  • โทรศัพท์เคลื่อนที่ 
  • เครื่องช่วยสื่อสารพร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง 
  • เครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ 
  • เครื่องแสกนเนอร์แบบมัลติฟังก์ชั่น 
  • เครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์ 
  • เครื่องอ่านหนังสือสำหรับคนพิการ 
  • อุปกรณ์ควบคุมตัวชี้ตำแหน่ง 
  • เครื่องแปลสื่อสิ่งพิมพ์เป็นอักษรเบรลล์ / อักษรเบรลล์เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ 
  • โปรแกรมสำหรับอ่านหน้าจอ 
  • โปรแกรมแปลภาพอักษร และมีเสียงสังเคราะห์ฯ 
  • โปรแกรมขยายหน้าจอ 
  • โปรแกรมอ่านหนังสือ 
  • โปรแกรมช่วยในการพิมพ์ 
  • โปรแกรมพจนานุกรม 
  • โปรแกรมสำหรับโทรศัพท์มือถือ 

ขั้นตอนการยืมอุปกรณ์ช่วยให้สะดวกในการรับข่าวสาร 

  1. ยื่นคำขอพร้อมเอกสาร 
  • กรุงเทพ : สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 
  • ต่างจังหวัด : พมจ.ประจำจังหวัด / สำนักงานสถิติจังหวัด 
  1. หน่วยงานรับคำขอตรวจสอบเอกสาร 15 วัน 
  2. พิจารณาผล 60 วัน 
  3. สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแจ้งผล (ภายใน 15 วัน) 
  4. แจ้งผลพิจารณา และจัดเตรียมส่งอุปกรณ์ 
  5. ทำสัญญายืมอุปกรณ์คนพิการ 

นอกจากนี้สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย และมูลนิธิคนตาบอดไทย ได้ให้บริการห้องสมุดหนังสือเสียง ผลิตและเผยแพร่เอกสารอักษรเบรลล์ตลอดจนเอกสารตัวพิมพ์ขยายใหญ่ เพื่อเป็นการพัฒนารูปแบบและขยายการให้บริการให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น 

ติดต่อใช้สิทธิได้ที่ 

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สำหรับยืมอุปกรณ์ ICT) 

120 หมู่ 3 ชั้น 9 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 

ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210  

โทร 02 142 1202 / 02 142 1337 

ระบบบริหารจัดการ อุปกรณ์และเครื่องมือด้าน ICT สำหรับคนพิการ 

https://pwds.onde.go.th

ห้องสมุดคนตาบอดและผู้พิการทางสื่อสิ่งพิมพ์แห่งชาติ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย 

85/1-3 ซอยบุญอยู่ ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 

โทร 02 246 3835

สอบถามเพิ่มเติมที่ สายด่วนคนพิการ โทร 1479

xr:d:DAFDzyysBiI:3798,j:3060598098570649223,t:23090709

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *