สอนลูกเรื่องคนพิการ

  1. “ปรับทัศนคติตัวเราก่อน”
    เด็กเหมือนฟองน้ำ ที่ซึมซับทุกอย่าง ถ้าเรายังเชื่อว่าความพิการคือ เรื่องน่าสงสาร โชคร้าย น่ากลัว น่ารังเกียจ ลูกจะซึมซับสิ่งเหล่านั้นได้ไม่ยาก
  2. “อย่าตกอกตกใจในความอยากรู้”
    มันโอเคมากๆ ที่เด็กจะสงสัย “ทำไมเค้าเดินไม่ได้” “ทำไมเค้าตาบอด” การมีท่าทีปกติ ตอบคำถามตรงไปตรงมา ด้วยน้ำเสียงที่เป็นปกติ ทำให้เด็กเข้าใจว่าการคุยเรื่องความพิการมันไม่ใช่เรื่องน่ากลัว
  3. “สอนลูกเข้าใจความแตกต่างหลากหลาย” แบบตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องใส่ทัศนคติ
    “โลกเรามีคนที่เกิดมาตามองไม่เห็นจ้ะ” “แม่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเกิดอะไร แต่ก็มีคนที่อาจจะได้รับอุบัติเหตุบางอย่างแล้วเดินไม่ได้” “เส้นประสาทของบางคนสั่งการได้ช้า” “บางคนในโลกมีขาข้างเดียว บางคนก็มีขาสองข้าง”
  4. “สอนให้เข้าใจ “ความเหมือน””
    ความแตกต่างทางร่างกาย ไม่ได้ทำให้แตกต่างไปในความเป็นมนุษย์ “เพื่อนลูกเค้าอาจจะพูดยังไม่ได้ แต่เค้าก็ชอบให้มีคนมาเล่น ชอบยิ้มมีความสุข เหมือนกับลูกเลย” “เค้าอาจจะมองไม่เห็น แต่เค้าก็มีความสุขเวลาได้ฟังดนตรี” “เค้าคงไม่ชอบให้ใครมาล้อ เหมือนที่เราไม่ชอบให้ใครมาล้อเรา”
  5. หลีกเลี่ยงการสอนด้วยคำว่า “น่าสงสาร”
    คนเหล่านี้น่าจะอยากถูกยอมรับด้วยความเข้าใจความแตกต่าง ไม่ใช่ถูกเวทนา หรือถูกมองว่าไม่เหมือนคนอื่น
  6. หลีกเลี่ยงประโยค “เราโชคดี”
    “เราโชคดี” คนเหล่านี้โชคร้าย เป็นสิ่งที่ควรเลี่ยง การสอนให้เข้าใจและเห็นใจผู้อื่น ไม่จำเป็นต้องยกตัวเทียบกับคนอื่น ความเห็นใจเกิดได้ โดยไม่ต้องเพิ่ม “อัตตา” ของตัวลูก
  7. สอนให้ “เห็นใจ” ด้วยความ “เข้าใจ”
    “ลูกคิดว่าถ้าเป็นเรา เราจะเผชิญความลำบากในการใช้ชีวิตยังไงบ้าง” “ถ้าเป็นเรา เราอยากให้ใครปฏิบัติกับเราอย่างไร”
  8. “สอนให้เห็นศักยภาพ”
    คนเหล่านี้ มีศักยภาพที่ดีเสมอ สอนลูกให้เห็นว่าคนเหล่านี้ช่วยเหลือตัวเอง พัฒนาตัวเองได้เก่งอย่างไร “ดูสิ พี่เค้าไม่มีแขน แต่แก้ไขโดยการฝึกใช้ปากเขียนได้เก่งมากๆเลย”
  9. “สอนการช่วยเหลือที่เหมาะสม”
    การเป็นเด็กใจดี เป็นเรื่องที่เราควรปลูกฝัง ในขณะเดียวกัน การเคารพในผู้อื่นก็เป็นเรื่องสำคัญ สอนลูกว่าก่อนเราจะช่วยอะไร ควรถามความสมัครใจด้วยเสมอ “อยากให้หนูช่วยพาเดินไปมั้ยคะ” เพราะหลายครั้ง ไม่ได้มีใครต้องการรับความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา… แม้ว่าเค้าจะแตกต่าง

ลองเอาไปปรับใช้คุยกับลูก… ให้เป็นเรื่องปกติของโลก

 

ขอบคุณ: เพจ เลี้ยงลูกนอกบ้าน

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *