โรคอันตรายอะไรบ้างที่ป่วยแล้วไม่ควรขับรถคนเดียว เพราะมีโอกาสเสี่ยงวูบ ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้สูง
ก่อนหน้านี้เราคงได้ยินข่าวคนมีโรคประจำตัวบางอย่างไปขับรถแล้วเกิดวูบจนเกิดอุบัติเหตุอันเศร้าสลดตามมา ด้วยเหตุนี้ กระทรวงสาธารณสุข จึงออกมาย้ำเตือนกันอีกครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำหน้าที่ขับรถ หรือมีอาชีพขับรถรับจ้าง หากมีโรคประจำตัว 4 โรคต่อไปนี้ ควรหลีกเลี่ยงการขับรถคนเดียวโดยเด็ดขาด เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและผู้ร่วมทาง นั่นคือ
1. โรคหัวใจ
2. เบาหวาน
3. ลมชัก
4. ผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดสมองมาก่อน
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ยังได้ร่วมกับกรมการขนส่งทางบก และแพทยสภา เสนอเพิ่มทั้ง 4 โรคนี้ เข้าไว้ในโรคที่มีความเสี่ยงเกิดอันตรายขณะขับรถ นอกเหนือจากที่กฎหมายการจราจรขนส่งทางบกในการขอใบอนุญาตขับรถ กำหนดไว้ 5 โรค คือ โรคเรื้อน โรคเท้าช้าง ติดยาเสพติด พิษสุราเรื้อรัง และวัณโรคระยะติดต่อ เพราะทั้ง 4 โรค ก่อให้เกิดอันตรายได้หากเกิดอาการป่วยขึ้นมากะทันหัน ซึ่งรายละเอียดของทั้ง 4 โรคที่กำหนดไว้ก็คือ
-
ลมชักที่กินยาควบคุมอาการไม่ได้
2. โรคเบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลิน อาจเกิดอาการวูบจากน้ำตาลในเลือดต่ำ
3. ผู้ป่วยโรคหัวใจอาจเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างกะทันหัน
4. ผู้ป่วยหลังผ่าตัดสมองบางรายที่อาจมีปัญหาเรื่องการควบคุมการทรงตัว และการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ และมีผลต่อการตัดสินใจในการควบคุมบังคับรถ
โดยผู้ป่วย 4 อาการดังกล่าวควรได้รับการตรวจรักษาโดยแพทย์อย่างใกล้ชิด หากตรวจแล้วพบว่าสภาพร่างกายไม่พร้อม แพทย์จะแนะนำให้หยุดขับรถชั่วคราว อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการออกเป็นกฎหมายเพื่อบังคับใช้ต่อไป
ในส่วนของการขับขี่รถอย่างปลอดภัยนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำไว้ด้วยว่า
ควรมีการเตรียมสภาพร่างกายและจิตใจให้พร้อม โดยนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง
หากเครียดไม่ควรขับรถ เพราะความเครียดจะทำให้มีอาการนอนไม่หลับ เท่ากับเราพักผ่อนไม่เพียงพอ
ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
หากขับรถระยะทางไกล ควรพักทุก 4 ชั่วโมงหรือทุก 300 – 400 กิโลเมตร และควรมีคนขับสำรอง
ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
ก่อนออกเดินทางควรศึกษาเส้นทาง และตรวจสอบความพร้อมของรถทุกครั้ง
ขอบคุณ: http://health.kapook.com/