“กฎหมายใหม่” ทุก รพ.ห้ามปฏิเสธผู้ป่วยฉุกเฉิน รักษาฟรี 72 ชั่วโมง!!

ครม. เห็นชอบให้ทุก รพ.รับรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินภายใน 72 ชม. เก็บเงินตามบัญชีค่าใช้จ่ายที่กำหนด หากมีสิทธิตาม กม.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือ กม.ว่าด้วยการประกันชีวิตให้ใช้สิทธินั้นก่อน หลังจากนั้นส่งต่อ รพ.ตามสิทธิที่ผู้ป่วยมีอยู่

หากทางโรงพยาบาลใดปฏิเสธการให้การรักษาจะต้องมีความผิดปรับ 20,000 บาท หรือถึงขั้นสั่งปิดสถานพยาบาลทันที รวมถึงห้ามสถานพยาบาลกักตัวผู้ป่วยเพื่อเพิ่มค่าใช้จ่าย เว้นเสียแต่ผู้ป่วยมีความประสงค์จะรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลเอง ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายตามปกติ

สพฉ.ได้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความฉุกเฉินและมาตรฐานการปฏิบัติการฉุกเฉินไว้ในประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินแล้ว โดยผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต คือ

บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหัน  ซึ่งมีภาวะคุกคามต่อชีวิต และหากไม่ได้รับปฏิบัติการแพทย์ทันทีเพื่อแก้ไขระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด หรือระบบประสาทแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง หรือทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างฉับไว และเมื่อมาถึงสถานพยาบาลแล้วผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติจะต้องได้รับการตรวจรักษาภายใน 0-4 นาที

6 กลุ่มอาการ เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตามโครงการฯ

  1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว
  2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง
  3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม
  4. เจ็บหน้าอกฉับพลัน รุนแรง
  5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดแบบไม่ชัดปัจจุบันทันด่วน ชักต่อเนื่องไม่หยุด
  6. มีอาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิตระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

ตัวอย่างอัตราค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตในระยะ 72 ชั่วโมง

– ค่าห้องผ่าตัดใหญ่ 2,400 บาท / ชั่วโมง
– ค่าอัลตราซาวด์ 1,150 บาท / ครั้ง
– ค่า MRI สมอง 8,000 บาท / ครั้ง
– ค่าลิ้นหัวใจเทียม 29,000 บาท / อัน
– ค่าสายยางและปอดเทียม 80,000 บาท / ชุด

 

ขอบคุณที่มา:http://www.naarn.com/15585/

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *